SilentDREAM photo-essay by Napat Roongrawewan
SILENTDREAM
2022
MULTIMEDIA INSTALLATION
BANGKOK ART BIENNALE 2022
CHAOS : CALM
22.10.22 - 23.02.23
THE PRELUDE ONE BANGKOK
LIVE FEED : IG
SilentDREAM focuses on string of moments from the eve of Siamese modernity, circa 1830s, to present-day sociopolitical trajectory. It entails an active process of construction of time in Thai society. Along with transmissional signals of void and schism in contemporary social topography, images of the earliest master plan of modernity initiated by Phra Vajirayana Thera (King Rama IV) at ordination hall of Borom Niwas Temple are converted into sound waves. Being encoded as dynamism of forces, SilentDREAM demonstrates the coexistence of different time layers in the same moment, in which multidimensional structure of frequencies and digital waves are constantly diffracting, influencing and working inseparably at the exhibiting site.
2022
MULTIMEDIA INSTALLATION
BANGKOK ART BIENNALE 2022
CHAOS : CALM
22.10.22 - 23.02.23
THE PRELUDE ONE BANGKOK
LIVE FEED : IG
SilentDREAM focuses on string of moments from the eve of Siamese modernity, circa 1830s, to present-day sociopolitical trajectory. It entails an active process of construction of time in Thai society. Along with transmissional signals of void and schism in contemporary social topography, images of the earliest master plan of modernity initiated by Phra Vajirayana Thera (King Rama IV) at ordination hall of Borom Niwas Temple are converted into sound waves. Being encoded as dynamism of forces, SilentDREAM demonstrates the coexistence of different time layers in the same moment, in which multidimensional structure of frequencies and digital waves are constantly diffracting, influencing and working inseparably at the exhibiting site.
"After considering my question, the man who observes from a distance smiles and replies, “It’s too early to conclude what will happen next. We can’t yet know what the coded images portend for this unique city’s future. I would like to note that while the Earth never stops moving itself, there is no reason for these coded images to remain static. As you know, all things move along together with the Earth’s rotation. You should observe things from a distance so you may see and listen from a place where the assembled pieces of time begin to unfold. Perhaps, just a small strike of sound will be enough to connect you to the channel from which you will be able to decode those puzzling images.”
Excerpt from A Tale of SilentDREAM, narrated by Kamolwan Boonphokaew and translated from Thai by Pattara Danutra.
|
|
Selected research materials and references :
Rama Yantra A talisman at Jantar Mantra Astronomical Observatory New Delhi, India Built in 1724 by Maharaja Jai Singh II of Jaipur The Rama Yantra consists of a pair of cylindrical structures, open to the sky, each with a pillar or pole at the center. The pillar/post and walls are of equal height, which is also equal to the radius of the structure. The floor and interior surface of the walls are inscribed with scales indicating angles of altitude and azimuth. The Rama Yantra is used to observe the position of any celestial object by aligning an object in the sky with both the top of the central pillar, and the point on the floor or wall that completes the alignment. In the daytime, the sun’s position is directly observed at the point where the shadow of the top of the pillar falls on the floor or wall. At night, an observer aligns the star or planet with the top of the pillar and interpolates the point on floor or wall that completes the alignment through the use of a sighting guide. The floor is constructed as a raised platform at chest height, and is arranged in multiple sectors with open spaces between them. This provides a space for the observer to move about and comfortably sight upwards from the inscribed surface. The instrument is most accurate near the intersection of floor and wall, corresponding to an altitude of 45 degrees. Here, the markings are at their widest spacing, and give an accuracy of +/- 1’ of arc. For altitude readings greater than 45 degrees, the accuracy diminishes, and diminishes to +/- 1 degree near the base of the pillar. Source : jantarmantra.org |
View of Rama Yantras from the Samrat Yantra at Jantar Mantar, New Delhi, photographed by Lala Narain Prasad on November 7, 1981.
Credit : Centre for Community Knowledge, Ambedkar University Delhi (CCK, AUD) under CC BY-NC-SA 4.0. Source : Memories of Delhi Archive |
Khrua In Khong's mural at Wat Borom Niwas Temple's ordination hall, Bangkok, circa 1850's
The mural shows the depiction of scientifically correct constellations of our solar system for the first time in Thailand. The wish of King Rama IV to bring about progress in the country through intensive exchange with scholars from the Western world is conveyed in this mural by the parallel presence of Buddhist allegories and Western architecture within an idealized landscape. It reflects the eve of modernity of the 19th century Siam/Thailand, the master plan of modern Siam.
The mural shows the depiction of scientifically correct constellations of our solar system for the first time in Thailand. The wish of King Rama IV to bring about progress in the country through intensive exchange with scholars from the Western world is conveyed in this mural by the parallel presence of Buddhist allegories and Western architecture within an idealized landscape. It reflects the eve of modernity of the 19th century Siam/Thailand, the master plan of modern Siam.
17.11.2563
Protesters gathered at Bangkok's Ratchaprasong intersection, where the Royal Thai Police headquarters is located, following violent unrest which occurred on Tuesday, November 17, 2020 during which at least 55 protesters were injured.
Image courtesy of Viriya Chotpanyavisut. All rights reserved.
Protesters gathered at Bangkok's Ratchaprasong intersection, where the Royal Thai Police headquarters is located, following violent unrest which occurred on Tuesday, November 17, 2020 during which at least 55 protesters were injured.
Image courtesy of Viriya Chotpanyavisut. All rights reserved.
Bangkok Dream
This digital collage embodies moments of varying locations and periods. It captures the ghostly temporality of ongoing entanglement of “what was/ is/ to-come”.
Bangkok Dream consists of Map of Bangkok (Nai Von Nai Sorn edition) created in 1896 from the Royal Thai Survey Department and Cryo-EM structure of the 2019-nCoV spike in the prefusion conformation from www.rcsb.org/structure/6VSB.
This digital collage embodies moments of varying locations and periods. It captures the ghostly temporality of ongoing entanglement of “what was/ is/ to-come”.
Bangkok Dream consists of Map of Bangkok (Nai Von Nai Sorn edition) created in 1896 from the Royal Thai Survey Department and Cryo-EM structure of the 2019-nCoV spike in the prefusion conformation from www.rcsb.org/structure/6VSB.
BAB 2022 CHAOS : CALM at The Prelude One Bangkok and The PARQ
by art4d
Text : Pratarn Teeratada
Photo : Ketsiree Wongwan & Pratarn Teeratada
Full read : English / ภาษาไทย
SilentDREAM is a poetic work of art that examines the period between before Siam’s modernization (circa the 1830s) and Thailand’s current sociopolitical climate. The artist uses data transformation to communicate tales, spaces, and time from historical pictures, such as the mural by Krua In Khong at Baromniwas Rachaworaworawoharn. The painting was transformed into multiple-frequency sound waves. Through Chitti’s art, viewers learn how these images, sounds, and memories must coexist and cannot be separated.
The series is the final installment of a trilogy exhibition that examines the modernization of Siam and Thailand through comparisons with other contemporary scientific and multidisciplinary findings, particularly Karen Barad’s New Materialism theory and the poetic measurement of space/time. Having The Prelude One Bangkok as the venue implies the work’s connection to the evolution of modernity, as the mixed-use project is an illustrious depiction of the city’s current and future urban developments.
by art4d
Text : Pratarn Teeratada
Photo : Ketsiree Wongwan & Pratarn Teeratada
Full read : English / ภาษาไทย
SilentDREAM is a poetic work of art that examines the period between before Siam’s modernization (circa the 1830s) and Thailand’s current sociopolitical climate. The artist uses data transformation to communicate tales, spaces, and time from historical pictures, such as the mural by Krua In Khong at Baromniwas Rachaworaworawoharn. The painting was transformed into multiple-frequency sound waves. Through Chitti’s art, viewers learn how these images, sounds, and memories must coexist and cannot be separated.
The series is the final installment of a trilogy exhibition that examines the modernization of Siam and Thailand through comparisons with other contemporary scientific and multidisciplinary findings, particularly Karen Barad’s New Materialism theory and the poetic measurement of space/time. Having The Prelude One Bangkok as the venue implies the work’s connection to the evolution of modernity, as the mixed-use project is an illustrious depiction of the city’s current and future urban developments.
Revealing the Concept Behind SilentDREAM
An interview by One Bangkok
จิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปินและภัณฑารักษ์อิสระ คือหนึ่งใน 73 ศิลปินของ BAB 2022 ผู้ร้อยเรียงความคิด เชื่อมโยงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในต่าง ‘พื้นที่’ และต่าง ‘เวลา’ แล้วนำมาถ่ายทอดในรูปแบบของ ‘คลื่นเสียง’ ในผลงานศิลปะชุดล่าสุด SilentDREAM ณ เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก
SilentDREAM เขตแดนที่จับต้องไม่ได้
“สถานที่ที่เราอยู่คือตรงไหน และเวลาของเราคืออะไร เราจะทำความเข้าใจหรือรู้จักกับสถานที่และเวลาของเราได้อย่างไรบ้าง” คือชุดคำถามตั้งต้นของจิตติ ในการสร้างผลงานศิลปะ SilentDREAM ซึ่งเป็นชื่อของสถานที่แห่งหนึ่งใกล้กับภูเขาไกรลาสทางตอนเหนือของอินเดีย ที่เขาค้นพบจากการหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
“ผมสงสัยว่าที่แห่งนี้คืออะไร แล้วใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ มีอยู่จริงหรือเปล่าผมก็ไม่รู้ แต่มีคนปักหมุดเอาไว้ใน Google Maps ผมสนใจเพราะตรงกับสิ่งที่ผมกำลังทำความเข้าใจอยู่ อย่างบางทีเรารู้จักกรุงเทพฯ จากชุดข้อมูลที่มีหรือจากความทรงจำของเรา แต่เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรุงเทพฯ จากอะไรได้อีกบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน การทำความเข้าใจพื้นที่สักแห่งไม่ได้ถูกตีกรอบด้วยขอบเขตทางภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เราอาจศึกษาจากทั้งสิ่งที่เรามองเห็นจับต้องได้ และจากสิ่งที่เรามองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ อย่างประวัติศาสตร์ วรรณกรรม หรือภาพถ่ายที่ถูกบันทึกไว้ การหาข้อมูลในแนวทางนี้จึงเหมือนพาเราไปในอีกสถานที่หนึ่ง ที่ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต หรือในขณะเดียวกัน อดีตก็อาจเป็นอนาคตของเราได้ เช่น เราอาจจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่นี้เพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเราอ่านประวัติศาสตร์ว่าที่ตรงนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน ความเข้าใจที่เราเคยมีเกี่ยวกับที่แห่งนี้อาจเปลี่ยนไป อดีตก็คืออนาคตของเรา ดังนั้น สำหรับผม หากพูดถึงประวัติศาสตร์และเวลา อาจไม่มีอดีตและอนาคตจริงๆ ตามเส้นตรง แต่เป็นเหมือนกับการเดินทางที่วกไปวนมามากกว่า”
การเล่าเรื่องผ่านเสียง
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งในงานศิลปะของจิตติ คือการให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานไม่แพ้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และการเปิดโอกาสให้ผู้ชมงานคิดต่อยอดไปสู่คำตอบหรือประเด็นอื่นๆ เสมอ เราจึงจะเห็นว่า บ่อยครั้งที่ผู้ชมงานจะใช้เวลากับงานศิลปะของจิตติค่อนข้างมาก
“ผมอยากหาวิธีกระตุ้นหรือทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ชมรู้สึกว่างานของเรามีมิติและน่าค้นหา เพราะว่าหน้าที่ของงานศิลปะไม่ใช่เพียงแค่สร้างความเพลิดเพลิน แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนได้ ผมจึงเริ่มทำงานชิ้นนี้จากการสืบค้นข้อมูล แล้วดูว่าข้อมูลที่ได้มาจะส่งต่อให้คนดูอย่างไรได้บ้าง ซึ่งศิลปินบางคนอาจอธิบายเป็นตัวหนังสือ พร้อมกับภาพประกอบ หรือเอาชุดข้อมูลมาสร้างเป็นวัตถุสิ่งของ ขณะที่บางคนนำทั้งสองวิธีมารวมกัน สำหรับงานของผม ผมไม่ได้เน้นแค่ภาพที่เห็น แต่อยากเน้นจากสิ่งที่มองไม่เห็น แล้วนำมาขยายผลต่อให้ตรงตามเป้าหมายและสถานที่จัดงาน”
คำว่า ‘สถานที่จัดงาน’ ของจิตติในที่นี้ คือ ‘เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก’ ซึ่งในอดีต พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย จิตติจึงเลือกนำ ‘คลื่นเสียง’ มาใช้ถ่ายทอดชุดข้อมูลที่มี โดยเขาทำงานร่วมกับ ประดิษฐ์ แสงไกร อาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ในการแปลงค่าของภาพ จำนวน 4 ภาพ ให้ออกมาเป็นคลื่นเสียง
“ผมปรึกษาอาจารย์ประดิษฐ์ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะแปลงภาพให้เป็นคลื่นเสียง เพราะผมต้องการให้ผู้ชมรู้สึกไปกับภาพในอีกมิติหนึ่ง อาจารย์จึงนำภาพทั้งหมดมาแปลงเป็นเสียง แล้วส่งไปยังอีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งโปรแกรมนี้ทำหน้าที่คล้ายเครื่องกรองคอยจัดลำดับเสียง 4 เสียงให้หมุนอยู่กับลำโพง 4 ตัว เสียงที่ได้ยินในแต่ละรอบจะแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่เครื่องจะคำนวณมา ในแง่นี้ จึงเชื่อมโยงกับแนวคิดในทางควอนตัมฟิสิกส์ที่ผมสนใจอยู่ คือการที่อนุภาคของสสารแต่ละชนิดมีวิถีของตัวเอง เคลื่อนที่ และส่งกระแสถึงกันได้ มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน แล้วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม”
ทั้งนี้ จิตติตั้งใจให้เสียงทั้งหมดออกมาไม่เหมือนกัน เพราะหากเขากำหนดผลลัพธ์ทั้งหมดไว้ตั้งแต่แรกว่าเสียงจะออกมาเป็นรูปแบบใด ก็เท่ากับเป็นการปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น “เรากำลังสร้างสิ่งใหม่โดยอ้างอิงจากภาพอดีตและปัจจุบัน แล้วนำมาประมวลผลว่าในอนาคตจะออกมาเป็นรูปแบบไหนได้บ้าง แต่ในเมื่อเรายังไม่เห็นภาพว่าข้างหน้าคืออะไร เราเลยใช้เสียงเป็นตัวอธิบายกระบวนการ ถ้าเราหลับตายืนอยู่กลางห้อง แม้ไม่ได้จดจ่ออยู่กับภาพ แต่เราจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวไปมาจากสิ่งที่ไม่มีตัวตน มันจะพาเราไปอีกที่หนึ่งเลย หัวใจของการแสดงงานชิ้นนี้คือการแสดงสิ่งที่จับต้องไม่ได้”
ภาพทับซ้อนของเรื่องราวในอดีตและปัจจุบัน
สำหรับภาพที่จิตตินำมาใช้แปลงเป็นคลื่นเสียงนั้น ได้แก่ ภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังวัดบรมนิวาสของขรัวอินโข่ง จำนวน 2 ภาพ ภาพ 17.11.2563 โดย วิริยะ โชติปัญญาวิสุทธิ์ และภาพฝันบางกอก (Bangkok Dream) ซึ่งเป็นภาพที่จิตตินำภาพโครงสร้างยีนหนามแหลมของไวรัสโคโรนา 2019 มาทับซ้อนกับภาพแผนที่ฉบับนายวอนนายสอน 2439 (Bangkok Map 1896) ที่จัดทำขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 5
“ผมมองว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่งที่วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เป็นเหมือนมาสเตอร์แพลนของความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) และความศิวิไลซ์ที่เมืองสยามอยากจะไปให้ถึง ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้รับสั่งให้ขรัวอินโข่งนำความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์แบบตะวันตกสอดแทรกเข้าไปในภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ด้วย ส่วนภาพ 17.11.2563 เป็นภาพการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา ซึ่งผมไม่ได้มองว่ามีฝ่ายขวาหรือซ้าย ถูกหรือผิด แต่มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างต่างสนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และงานของผมก็พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง สังคม และศิลปะ”
“ภาพสุดท้ายผมตั้งชื่อว่า ฝันบางกอก (Bangkok Dream) เพราะภาพนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยภาพแผนที่นี้เป็นแผนที่ฉบับแรกๆ ที่แสดงพื้นที่ของกรุงเทพฯ อย่างชัดเจนและถูกต้องตามหลักสากล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศและกระบวนการสร้างรัฐชาติ รวมถึงในช่วงเวลาเดียวกัน ยังเกิดโรคระบาดสำคัญ คือโรคอหิวาตกโรคและกาฬโรค ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้นำวิธีทางการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาใช้ในการจัดการกับโรคระบาด โดยให้รัฐบาลใช้พื้นที่บางส่วนกักกันคนที่ล้มป่วย แล้วให้ทานยารักษาตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการดูแลเรื่องโควิดของไทยในปัจจุบัน”
จากภาพทั้งหมดนี้ เราจะเห็นว่าแม้ช่วง ‘เวลา’ จะแตกต่างกัน แต่เหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้น กลับมีความสอดคล้องกันอย่างยิ่ง
จากรามยันตรจำลอง สู่นิทานเมืองตาหลับ
อีกสองชิ้นงานที่จิตตินำเสนอด้วยในนิทรรศการนี้ คือ รามยันตรจำลอง (Replicas of Rama Yantra) จัดทำโดย ถกล ขาวสอาด และนิทานเมืองตาหลับ (A Tale of SilentDREAM) เขียนโดย กมลวรรณ์ บุญโพธิ์แก้ว และภัทร ด่านอุตตา (บทแปลภาษาอังกฤษ) โดยรามยันตรจำลองนั้น คือการย่อส่วนหอดูดาวของชาวอินเดียในอดีต ส่วนนิทานเมืองตาหลับ เป็นการเล่า SilentDREAM ในรูปแบบนิทาน เพื่อให้ผู้ชมสามารถทำความเข้าใจงานที่อยู่ตรงหน้าได้ง่ายขึ้น
สำหรับจิตติแล้ว งานศิลปะชุดนี้ของเขาคือการเชื่อมโยงหลากหลายประเด็นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมที่มีความสนใจแตกต่าง สามารถมีส่วนร่วมกับผลงานและต่อยอดความคิดออกไปได้ตามแต่บริบทส่วนบุคคล
“ผมใช้รามยันตรจำลองเป็นตัวกระตุ้นว่ามันมีพื้นที่อยู่นะ แต่อาจจะไม่ได้อยู่ตรงนี้ และอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ หรือถ้าเราโยงรามยันตรจำลองไปกับท้องฟ้าและเทวดาในภาพของขรัวอินโข่งที่วัดบรมนิวาส มันก็อ่านได้อีกแบบหนึ่ง คนที่สนใจเรื่องการดูดาวหรือจักรวาลวิทยา ก็อาจจะคิดไปอีกทางหนึ่ง คนที่สนใจประวัติศาสตร์หรือจิตรกรรม เมื่อมาชมงานก็จะมีมุมมองอีกแบบ คนที่สนใจเรื่องคลื่นความถี่ของเสียงก็อาจจะเดินมาที่จอมอนิเตอร์แสดงการแปลงภาพ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ชมแต่ละคนจะใช้ความสนใจส่วนตัวเป็นตัวพาเข้ามาชมงาน ผมจึงเปิดช่องหลายๆ ช่องเอาไว้”
An interview by One Bangkok
จิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปินและภัณฑารักษ์อิสระ คือหนึ่งใน 73 ศิลปินของ BAB 2022 ผู้ร้อยเรียงความคิด เชื่อมโยงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในต่าง ‘พื้นที่’ และต่าง ‘เวลา’ แล้วนำมาถ่ายทอดในรูปแบบของ ‘คลื่นเสียง’ ในผลงานศิลปะชุดล่าสุด SilentDREAM ณ เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก
SilentDREAM เขตแดนที่จับต้องไม่ได้
“สถานที่ที่เราอยู่คือตรงไหน และเวลาของเราคืออะไร เราจะทำความเข้าใจหรือรู้จักกับสถานที่และเวลาของเราได้อย่างไรบ้าง” คือชุดคำถามตั้งต้นของจิตติ ในการสร้างผลงานศิลปะ SilentDREAM ซึ่งเป็นชื่อของสถานที่แห่งหนึ่งใกล้กับภูเขาไกรลาสทางตอนเหนือของอินเดีย ที่เขาค้นพบจากการหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
“ผมสงสัยว่าที่แห่งนี้คืออะไร แล้วใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ มีอยู่จริงหรือเปล่าผมก็ไม่รู้ แต่มีคนปักหมุดเอาไว้ใน Google Maps ผมสนใจเพราะตรงกับสิ่งที่ผมกำลังทำความเข้าใจอยู่ อย่างบางทีเรารู้จักกรุงเทพฯ จากชุดข้อมูลที่มีหรือจากความทรงจำของเรา แต่เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรุงเทพฯ จากอะไรได้อีกบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน การทำความเข้าใจพื้นที่สักแห่งไม่ได้ถูกตีกรอบด้วยขอบเขตทางภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เราอาจศึกษาจากทั้งสิ่งที่เรามองเห็นจับต้องได้ และจากสิ่งที่เรามองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ อย่างประวัติศาสตร์ วรรณกรรม หรือภาพถ่ายที่ถูกบันทึกไว้ การหาข้อมูลในแนวทางนี้จึงเหมือนพาเราไปในอีกสถานที่หนึ่ง ที่ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต หรือในขณะเดียวกัน อดีตก็อาจเป็นอนาคตของเราได้ เช่น เราอาจจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่นี้เพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเราอ่านประวัติศาสตร์ว่าที่ตรงนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน ความเข้าใจที่เราเคยมีเกี่ยวกับที่แห่งนี้อาจเปลี่ยนไป อดีตก็คืออนาคตของเรา ดังนั้น สำหรับผม หากพูดถึงประวัติศาสตร์และเวลา อาจไม่มีอดีตและอนาคตจริงๆ ตามเส้นตรง แต่เป็นเหมือนกับการเดินทางที่วกไปวนมามากกว่า”
การเล่าเรื่องผ่านเสียง
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งในงานศิลปะของจิตติ คือการให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานไม่แพ้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และการเปิดโอกาสให้ผู้ชมงานคิดต่อยอดไปสู่คำตอบหรือประเด็นอื่นๆ เสมอ เราจึงจะเห็นว่า บ่อยครั้งที่ผู้ชมงานจะใช้เวลากับงานศิลปะของจิตติค่อนข้างมาก
“ผมอยากหาวิธีกระตุ้นหรือทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ชมรู้สึกว่างานของเรามีมิติและน่าค้นหา เพราะว่าหน้าที่ของงานศิลปะไม่ใช่เพียงแค่สร้างความเพลิดเพลิน แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนได้ ผมจึงเริ่มทำงานชิ้นนี้จากการสืบค้นข้อมูล แล้วดูว่าข้อมูลที่ได้มาจะส่งต่อให้คนดูอย่างไรได้บ้าง ซึ่งศิลปินบางคนอาจอธิบายเป็นตัวหนังสือ พร้อมกับภาพประกอบ หรือเอาชุดข้อมูลมาสร้างเป็นวัตถุสิ่งของ ขณะที่บางคนนำทั้งสองวิธีมารวมกัน สำหรับงานของผม ผมไม่ได้เน้นแค่ภาพที่เห็น แต่อยากเน้นจากสิ่งที่มองไม่เห็น แล้วนำมาขยายผลต่อให้ตรงตามเป้าหมายและสถานที่จัดงาน”
คำว่า ‘สถานที่จัดงาน’ ของจิตติในที่นี้ คือ ‘เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก’ ซึ่งในอดีต พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย จิตติจึงเลือกนำ ‘คลื่นเสียง’ มาใช้ถ่ายทอดชุดข้อมูลที่มี โดยเขาทำงานร่วมกับ ประดิษฐ์ แสงไกร อาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ในการแปลงค่าของภาพ จำนวน 4 ภาพ ให้ออกมาเป็นคลื่นเสียง
“ผมปรึกษาอาจารย์ประดิษฐ์ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะแปลงภาพให้เป็นคลื่นเสียง เพราะผมต้องการให้ผู้ชมรู้สึกไปกับภาพในอีกมิติหนึ่ง อาจารย์จึงนำภาพทั้งหมดมาแปลงเป็นเสียง แล้วส่งไปยังอีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งโปรแกรมนี้ทำหน้าที่คล้ายเครื่องกรองคอยจัดลำดับเสียง 4 เสียงให้หมุนอยู่กับลำโพง 4 ตัว เสียงที่ได้ยินในแต่ละรอบจะแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่เครื่องจะคำนวณมา ในแง่นี้ จึงเชื่อมโยงกับแนวคิดในทางควอนตัมฟิสิกส์ที่ผมสนใจอยู่ คือการที่อนุภาคของสสารแต่ละชนิดมีวิถีของตัวเอง เคลื่อนที่ และส่งกระแสถึงกันได้ มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน แล้วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม”
ทั้งนี้ จิตติตั้งใจให้เสียงทั้งหมดออกมาไม่เหมือนกัน เพราะหากเขากำหนดผลลัพธ์ทั้งหมดไว้ตั้งแต่แรกว่าเสียงจะออกมาเป็นรูปแบบใด ก็เท่ากับเป็นการปิดโอกาสความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น “เรากำลังสร้างสิ่งใหม่โดยอ้างอิงจากภาพอดีตและปัจจุบัน แล้วนำมาประมวลผลว่าในอนาคตจะออกมาเป็นรูปแบบไหนได้บ้าง แต่ในเมื่อเรายังไม่เห็นภาพว่าข้างหน้าคืออะไร เราเลยใช้เสียงเป็นตัวอธิบายกระบวนการ ถ้าเราหลับตายืนอยู่กลางห้อง แม้ไม่ได้จดจ่ออยู่กับภาพ แต่เราจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวไปมาจากสิ่งที่ไม่มีตัวตน มันจะพาเราไปอีกที่หนึ่งเลย หัวใจของการแสดงงานชิ้นนี้คือการแสดงสิ่งที่จับต้องไม่ได้”
ภาพทับซ้อนของเรื่องราวในอดีตและปัจจุบัน
สำหรับภาพที่จิตตินำมาใช้แปลงเป็นคลื่นเสียงนั้น ได้แก่ ภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังวัดบรมนิวาสของขรัวอินโข่ง จำนวน 2 ภาพ ภาพ 17.11.2563 โดย วิริยะ โชติปัญญาวิสุทธิ์ และภาพฝันบางกอก (Bangkok Dream) ซึ่งเป็นภาพที่จิตตินำภาพโครงสร้างยีนหนามแหลมของไวรัสโคโรนา 2019 มาทับซ้อนกับภาพแผนที่ฉบับนายวอนนายสอน 2439 (Bangkok Map 1896) ที่จัดทำขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 5
“ผมมองว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่งที่วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เป็นเหมือนมาสเตอร์แพลนของความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) และความศิวิไลซ์ที่เมืองสยามอยากจะไปให้ถึง ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้รับสั่งให้ขรัวอินโข่งนำความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์แบบตะวันตกสอดแทรกเข้าไปในภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ด้วย ส่วนภาพ 17.11.2563 เป็นภาพการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา ซึ่งผมไม่ได้มองว่ามีฝ่ายขวาหรือซ้าย ถูกหรือผิด แต่มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างต่างสนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และงานของผมก็พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมือง สังคม และศิลปะ”
“ภาพสุดท้ายผมตั้งชื่อว่า ฝันบางกอก (Bangkok Dream) เพราะภาพนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยภาพแผนที่นี้เป็นแผนที่ฉบับแรกๆ ที่แสดงพื้นที่ของกรุงเทพฯ อย่างชัดเจนและถูกต้องตามหลักสากล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศและกระบวนการสร้างรัฐชาติ รวมถึงในช่วงเวลาเดียวกัน ยังเกิดโรคระบาดสำคัญ คือโรคอหิวาตกโรคและกาฬโรค ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้นำวิธีทางการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาใช้ในการจัดการกับโรคระบาด โดยให้รัฐบาลใช้พื้นที่บางส่วนกักกันคนที่ล้มป่วย แล้วให้ทานยารักษาตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการดูแลเรื่องโควิดของไทยในปัจจุบัน”
จากภาพทั้งหมดนี้ เราจะเห็นว่าแม้ช่วง ‘เวลา’ จะแตกต่างกัน แต่เหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้น กลับมีความสอดคล้องกันอย่างยิ่ง
จากรามยันตรจำลอง สู่นิทานเมืองตาหลับ
อีกสองชิ้นงานที่จิตตินำเสนอด้วยในนิทรรศการนี้ คือ รามยันตรจำลอง (Replicas of Rama Yantra) จัดทำโดย ถกล ขาวสอาด และนิทานเมืองตาหลับ (A Tale of SilentDREAM) เขียนโดย กมลวรรณ์ บุญโพธิ์แก้ว และภัทร ด่านอุตตา (บทแปลภาษาอังกฤษ) โดยรามยันตรจำลองนั้น คือการย่อส่วนหอดูดาวของชาวอินเดียในอดีต ส่วนนิทานเมืองตาหลับ เป็นการเล่า SilentDREAM ในรูปแบบนิทาน เพื่อให้ผู้ชมสามารถทำความเข้าใจงานที่อยู่ตรงหน้าได้ง่ายขึ้น
สำหรับจิตติแล้ว งานศิลปะชุดนี้ของเขาคือการเชื่อมโยงหลากหลายประเด็นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมที่มีความสนใจแตกต่าง สามารถมีส่วนร่วมกับผลงานและต่อยอดความคิดออกไปได้ตามแต่บริบทส่วนบุคคล
“ผมใช้รามยันตรจำลองเป็นตัวกระตุ้นว่ามันมีพื้นที่อยู่นะ แต่อาจจะไม่ได้อยู่ตรงนี้ และอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ หรือถ้าเราโยงรามยันตรจำลองไปกับท้องฟ้าและเทวดาในภาพของขรัวอินโข่งที่วัดบรมนิวาส มันก็อ่านได้อีกแบบหนึ่ง คนที่สนใจเรื่องการดูดาวหรือจักรวาลวิทยา ก็อาจจะคิดไปอีกทางหนึ่ง คนที่สนใจประวัติศาสตร์หรือจิตรกรรม เมื่อมาชมงานก็จะมีมุมมองอีกแบบ คนที่สนใจเรื่องคลื่นความถี่ของเสียงก็อาจจะเดินมาที่จอมอนิเตอร์แสดงการแปลงภาพ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ชมแต่ละคนจะใช้ความสนใจส่วนตัวเป็นตัวพาเข้ามาชมงาน ผมจึงเปิดช่องหลายๆ ช่องเอาไว้”
BAB Talk :
การวิจัยเชิงปฏิบัติการศิลปะโดยการอ่านผ่านกันและกัน
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566
ณ เดอะพรีลูด วัน แบงค็อก
เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับโครงการ วัน แบงค็อก จัดกิจกรรมเสวนา “การวิจัยเชิงปฏิบัติการศิลปะโดยการอ่านผ่านกันและกัน (Research-based Art Practice : Reading Diffractively)” โดยมีประเด็นหลักเกี่ยวกับแนวคิดและกระบวนการทำงานของจิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปิน BAB 2022 เจ้าของผลงาน SilentDREAM ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก ว่าด้วยกระบวนการทำงานในลักษณะ Research-based Art Practice หรือกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยอาศัยวิธีการวิจัยเป็นฐาน ที่สัมพันธ์กับการใช้ชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (Archival Fragment) และการทำงานอย่างเชื่อมโยงกับพื้นที่ (Spatial Practice) เพื่อทำความเข้าใจวิธีการสร้างงานศิลปะทั้งในมุมมองศิลปินและภัณฑารักษ์ของจิตติ
กิจกรรมเสวนา “การวิจัยเชิงปฏิบัติการศิลปะโดยการอ่านผ่านกันและกัน (Research-based Art Practice: Reading Diffractively)” นำเสวนาโดย จิตติ เกษมกิจวัฒนา และศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 ร่วมด้วย ณัฐ ศรีสุวรรณ ศิลปินและภัณฑารักษ์อิสระ และปภพ เกิดทรัพย์ ภัณฑารักษ์ ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการ วัน แบงค็อก
การวิจัยเชิงปฏิบัติการศิลปะโดยการอ่านผ่านกันและกัน
วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566
ณ เดอะพรีลูด วัน แบงค็อก
เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับโครงการ วัน แบงค็อก จัดกิจกรรมเสวนา “การวิจัยเชิงปฏิบัติการศิลปะโดยการอ่านผ่านกันและกัน (Research-based Art Practice : Reading Diffractively)” โดยมีประเด็นหลักเกี่ยวกับแนวคิดและกระบวนการทำงานของจิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปิน BAB 2022 เจ้าของผลงาน SilentDREAM ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่เดอะ พรีลูด วัน แบงค็อก ว่าด้วยกระบวนการทำงานในลักษณะ Research-based Art Practice หรือกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยอาศัยวิธีการวิจัยเป็นฐาน ที่สัมพันธ์กับการใช้ชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (Archival Fragment) และการทำงานอย่างเชื่อมโยงกับพื้นที่ (Spatial Practice) เพื่อทำความเข้าใจวิธีการสร้างงานศิลปะทั้งในมุมมองศิลปินและภัณฑารักษ์ของจิตติ
กิจกรรมเสวนา “การวิจัยเชิงปฏิบัติการศิลปะโดยการอ่านผ่านกันและกัน (Research-based Art Practice: Reading Diffractively)” นำเสวนาโดย จิตติ เกษมกิจวัฒนา และศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 ร่วมด้วย ณัฐ ศรีสุวรรณ ศิลปินและภัณฑารักษ์อิสระ และปภพ เกิดทรัพย์ ภัณฑารักษ์ ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการ วัน แบงค็อก
Credits :
Sound programming : Pradit Saengkrai
Visual score editing : Tanatchai Bandasak
Still Images :
Khrua In Khong’s mural at Borom Niwas Temple, Bangkok by Tanatchai Bandasak
17.11.2563 by Viriya Chotpanyavisut
Bangkok Dream by Chitti Kasemkitvatana
A Tale of SilentDREAM : Kamolwan Boonphokaew with English translation by Pattara Danutra
Replicas of Rama Yantra : Thakol Khaosa-ad
Installation team : Supernormal Studio
Commission by Bangkok Art Biennale 2022
Special thanks :
Prof. Dr. Apinan Poshyananda
Charintip Choomuenwai
Jirat Ratthawongjirakul
Pojai Akratanakul
Nunthakarn Thongvanit
Pradit Saengkrai
Tanatchai Bandasak
Kamolwan Boonphokaew
Pattara Danutra
Thakol Khaosa-ad
Viriya Chotpanyavisut
Passapak Waranan
Wantanee Siripattananuntakul
Phatarawadee Phataranawik
Napat Roongrawewan
Supernormal Studio team
Bangkok Art Biennale
One Bangkok
Sound programming : Pradit Saengkrai
Visual score editing : Tanatchai Bandasak
Still Images :
Khrua In Khong’s mural at Borom Niwas Temple, Bangkok by Tanatchai Bandasak
17.11.2563 by Viriya Chotpanyavisut
Bangkok Dream by Chitti Kasemkitvatana
A Tale of SilentDREAM : Kamolwan Boonphokaew with English translation by Pattara Danutra
Replicas of Rama Yantra : Thakol Khaosa-ad
Installation team : Supernormal Studio
Commission by Bangkok Art Biennale 2022
Special thanks :
Prof. Dr. Apinan Poshyananda
Charintip Choomuenwai
Jirat Ratthawongjirakul
Pojai Akratanakul
Nunthakarn Thongvanit
Pradit Saengkrai
Tanatchai Bandasak
Kamolwan Boonphokaew
Pattara Danutra
Thakol Khaosa-ad
Viriya Chotpanyavisut
Passapak Waranan
Wantanee Siripattananuntakul
Phatarawadee Phataranawik
Napat Roongrawewan
Supernormal Studio team
Bangkok Art Biennale
One Bangkok