Photo courtesy of Art Centre, Silpakorn University. Photographer : Nuttapon Sawasdee.
Cinematic Ensemble of Kailash
22nd Silpa Bhirasri Creativity Grants
15 September - 11 November 2023
Art Centre Silpakorn University
“Cinematic Ensemble of Kailash'' presents a series of entangled ideas in sociocultural and geophysical dimensions of Mount Kailash, which is regarded as the earthly manifestation of mystic Mount Meru – the cosmic axis in spiritual cosmology. The project demonstrates the implication in continuum mechanics of Mount Kailash and Mount Meru in conjunction with the concept of spacetimemattering and a Pali word "bhava” [trans. becoming, (state of) existence], which is origin of the word “ภาพ” [trans. image, view, scene] in Thai.
_
ร้อยกรองไกร
นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 22
15 กันยายน - 11 พฤศจิกายน 2566
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
“ร้อยกรองไกร” นำเสนอเรื่องราวและความนัยของ “เขาไกรลาศ” ซึ่งถือว่าเป็นการปรากฏขึ้นในโลกของ “เขาพระสุเมรุ” แกนของจักรวาลหรือโลกธาตุตามคติจักรวาลวิทยาที่มีมาแต่ครั้งก่อนสมัยพุทธกาล รวมถึงการเคลื่อนและความพัวพันเชิงกลศาสตร์ควอนตัมของ “เขาไกรลาศ” และ “เขาพระสุเมรุ” โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การสัมปยุตของข้อมูลในมิติของคติ ตำนาน และภูมิศาสตร์กายภาพ ที่สัมพันธ์กับคำว่า “ภาว/ภาวะ” คำบาลีต้นทางของคำว่า “ภาพ” ในภาษาไทย และแนวความคิดร่วมสมัยเรื่องปริภูมิ-เวลา
22nd Silpa Bhirasri Creativity Grants
15 September - 11 November 2023
Art Centre Silpakorn University
“Cinematic Ensemble of Kailash'' presents a series of entangled ideas in sociocultural and geophysical dimensions of Mount Kailash, which is regarded as the earthly manifestation of mystic Mount Meru – the cosmic axis in spiritual cosmology. The project demonstrates the implication in continuum mechanics of Mount Kailash and Mount Meru in conjunction with the concept of spacetimemattering and a Pali word "bhava” [trans. becoming, (state of) existence], which is origin of the word “ภาพ” [trans. image, view, scene] in Thai.
_
ร้อยกรองไกร
นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 22
15 กันยายน - 11 พฤศจิกายน 2566
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
“ร้อยกรองไกร” นำเสนอเรื่องราวและความนัยของ “เขาไกรลาศ” ซึ่งถือว่าเป็นการปรากฏขึ้นในโลกของ “เขาพระสุเมรุ” แกนของจักรวาลหรือโลกธาตุตามคติจักรวาลวิทยาที่มีมาแต่ครั้งก่อนสมัยพุทธกาล รวมถึงการเคลื่อนและความพัวพันเชิงกลศาสตร์ควอนตัมของ “เขาไกรลาศ” และ “เขาพระสุเมรุ” โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การสัมปยุตของข้อมูลในมิติของคติ ตำนาน และภูมิศาสตร์กายภาพ ที่สัมพันธ์กับคำว่า “ภาว/ภาวะ” คำบาลีต้นทางของคำว่า “ภาพ” ในภาษาไทย และแนวความคิดร่วมสมัยเรื่องปริภูมิ-เวลา
untitled (ห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลบางส่วนที่เราไม่สามารถจะสังเกตการณ์ได้). 2023. Digital print on 128 g paper. Dimension : 30 x 42 cm.
Process / Research
The concept of Kailash as the earthly manifestation of Mount Meru (also known as Sumeru) is rooted in various religious and mythological traditions, particularly in Hindu and Buddhist cosmology. Mount Meru is believed to be the central axis of the universe, a sacred mountain that connects the physical and metaphysical realms. Applying a new materialist lens to the myth of Kailash involves examining the physical features of the mountain, such as its geological formation and ecological aspects, and how these elements interact with human experiences and beliefs. The Cinematic Ensemble of Kailash focuses on a deeper understanding of the myth of Kailash by considering both the material and non-material aspects that are intertwined in the cultural and religious practices surrounding the sacred mountain. It allows for a more holistic exploration of the myth, considering the entanglements between the physical, social, and cultural realms. |
กระบวนการ / การวิจัย
“ร้อยกรองไกร” เป็นปฏิบัติการนำร่องของการวิจัยเชิงปฏิบัติการทางศิลปะ The Universe Is Not Locally Real ที่เริ่มขึ้นเมื่อปลาย พ.ศ. 2565 เพื่อศึกษาความพัวพัน (entanglement) ในบริบทประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับกลศาสตร์ควอนตัมในวิถีวัตถุนิยมใหม่ (new materialist approach) “ร้อยกรองไกร” เริ่มจากการศึกษาถึงเรื่องราวและความนัยของ “เขาไกรลาศ” ซึ่งถือว่าเป็นการปรากฏขึ้นในโลกของ “เขาสุเมรุ” ตามคติศาสนาพุทธและคติศาสนาพราหมณ์ รวมถึงศึกษาเชิงภูมิศาสตร์กายภาพ (ธรณีฟิสิกส์) โดยสำรวจหาสถานที่ที่มีลักษณะทางภูมิภาพเป็นภูเขาหรือเทือกเขา ที่มีชื่อว่า “สุเมรุ” “สิเนรุ” และ “ไกรลาศ” ในแผนที่โลก ทั้งในดินแดนต้นทางของตำนานและในพื้นที่อาณาจักรโบราณทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวเชื่อมต่อกับเทือกเขาหิมาลัยที่ทอดตัวมายังบริเวณตอนเหนือของอุษาคเนย์ จากการสืบค้น พบสถานที่ที่มีชื่อว่า “เขาไกรลาศ” หรือ “เขาสุเมรุ” อยู่ 7 แห่ง ได้แก่ เขาไกรลาศ หรือ กังติ-สู-ชาน (Kangti-ssu-shan) ในทิเบต อดิไกรลาศ (Adi Kailash) หรือ ศิวะไกรลาศ (Shiva Kailash) ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ในเขตรัฐอุตตราขัณฑ์ ยอดเขาเมรุ (Meru Peak) ในแนวเทือกเขาการ์ฮวาล-หิมาลัย (Garhwal Himalayas) รัฐอุตตราขัณฑ์ คินเนอร์ไกรลาศหรือคินนัวร์ไกรลาศ (Kinner / Kinnuar Kailash) ในเทือกเขาคินนัวร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาหิมาลัย ในรัฐหิมาจัลประเทศ ศรีคันธมหาเทพ (Shrikhand Mahadev) อยู่ในเขตกูลลู (Kullu) ในรัฐหิมาจัลประเทศ ยอดเขามานิมาเฮชไกรลาช (Manimahesh Kailash Peak) หรือ ซัมบาไกรลาศ (Chamba Kailash) ตั้งอยู่ในเมืองภมร (Bharmour) เขตซัมบา รัฐหิมาจัลประเทศ และเนินเขาไกรลาศ (Kailash Hill) ย่านไกรลาศตะวันออก เขตเกรเธอร์ไกรลาศ (Greater Kailash) ทางตอนใต้ของกรุงเดลี เมื่อสืบค้นในพื้นที่อาณาจักรโบราณทางตอนเหนือของประเทศไทย ไม่พบสถานที่ที่มีชื่อว่าเขาไกรลาศหรือเขาพระสุเมรุ ปรากฏแต่เพียงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสถูปเจดีย์ ในอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนาในอดีต ซึ่งพัฒนามาจากเจติยวิหารของศิลปะพุกาม เรียกว่า “เจดีย์ทรงปราสาท” โดยมีเจดีย์จำลองเล็กๆ เรียกว่า “สถูปิกะ” ประดับส่วนฐานของเจดีย์ทรงระฆังเหนือเรือนธาตุทั้งสี่มุม เกิดเป็นเจดีย์ที่มีห้ายอด ตรงกับลักษณะของเขาไกรลาศตามคติจักรวาลวิทยาแบบตันตระ พระพุทธศาสนาสายวัชรยาน คติเรื่องเขาพระสุเมรุมีอิทธิพลต่อการพัฒนารูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของสถูปเจดีย์ รวมถึงศาสนสถานอื่นๆ ดูได้จากพัฒนาการของรูปแบบสถูปเจดีย์รุ่นแรกในสมัยพุทธกาล ที่มีโครงสร้างรูปครึ่งวงกลมหรือเป็นโดมครอบเกลี้ยงๆ จนถึงรูปแบบของมหาสถูปสาญจีที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งมีฉัตรวลี (ร่มหลายชั้น) อยู่บนยอดของมหาสถูป รวมถึงสถูปเจดีย์ในถ้ำอชันตาและถ้ำเอลโรลา จากการสืบค้น พบหลักฐานทางโบราณคดีรูปแบบสถูปเจดีย์รุ่นที่ 2 ทางตอนเหนือของอุษาคเนย์ ในดินแดนกลุ่มนครรัฐของชาติพันธุ์ปยู (Pyu) หรืออาณาจักรศรีเกษตร ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี ทางภาคกลางและภาคใต้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเชื่อกันว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนกลับไปช่วงสมัยพุทธกาล รวมถึงพบหลักฐานทางโบราณคดีศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบปยูในพื้นที่จังหวัดลำพูน โดยรูปแบบของสถูปเจดีย์มีการบีบตัวสูงขึ้นเป็นทรงกระบอกปลายมน (กู่ช้าง นัยหนึ่งเชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี อีกนัยหนึ่ง เชื่อว่าเป็นหอคอย แต่มีการสันนิษฐานจากลักษณะของรูปทรงกระบอกว่า เป็นลักษณะสถูปเจดีย์แบบปยู) ต่างจากรุ่นแรกที่มีลักษณะโดมครึ่งวงกลมที่สมบูรณ์ และต่อมาคติเรื่องเขาพระสุเมรุก็ได้ผนวกเข้าไป โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคติและรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบพระพุทธศาสนาวัชรยาน นิกายมหายาน ได้แพร่กระจายและเคลื่อนตัวจากประเทศอินเดียมาตามแนวเทือกเขาหิมาลัยสู่เขตปกครองตนเองทิเบต สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล สาธารณรัฐประชาชนจีนและทางตอนเหนือของภูมิภาคอุษาคเนย์ จนถึงอาณาจักรพุกาม และได้มีอิทธิพลถึงอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนา กระบวนการข้างต้นเป็นการศึกษาทางโบราณคดีซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนทางคติของเขาไกรลาศผ่านรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม หากย้อนกลับมาที่ความหมายของคำว่า “ไกรลาศ” ซึ่งแปลว่า “สีเงินยวง” ในนัยหนึ่ง อาจจะเป็นการสะท้อนแสงของแร่ซิลิกา (Silica) ที่พบในหินและดินตามแนวเทือกเขาหิมาลัย อีกทั้งความเชื่อเกี่ยวกับพลังพิเศษที่เปล่งออกจากผลึกคริสตัลหรือควอตซ์ หรือหินจุยเจีย (ชื่อภาษาจีน หมายถึง หินที่ใสเหมือนน้ำ) ที่พบได้ในบริเวณดังกล่าว อีกนัยหนึ่ง แสงสีเงินยวงคือปรากฏการณ์การสะท้อนแสงของพื้นผิวของเขาไกรลาศที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งตลอดทั้งปี เมื่อสืบค้นต่อว่า “เขาไกรลาศ” หรือ “เขาสุเมรุ” มีจำนวนเท่าไหร่ในจักรวาล (โลกธาตุ) นี้ ในคติศาสนาพุทธ “เขาไกรลาศ” หรือ “เขาสุเมรุ” คือแกนกลางของจักรวาลหรือโลกธาตุ เท่ากับว่าในจักรวาลหนึ่งมีได้เเพียงแห่งเดียว การปรากฏขึ้นในโลกของ “เขาไกรลาศ” หรือ “เขาสุเมรุ” จึงเป็นเพียงการเคลื่อนของมโนคติ หรือการสำแดงของมโนภาพในภาวะต่างๆ |
Research materials : ข้อมูลวิจัย
Mt. Kailash (Kangti-ssu-shan / Kangri Rinpoche)
This image shows Mt. Kailash, a peak in the Kailas Range in Tibet, shot from ASTER, an Earth-observing instrument, Terra Mission on January 20, 2003, and is located at 31.1 degrees north, 81.3 degrees east. With its 14 spectral bands from the visible to the thermal infrared wavelength region and its high spatial resolution of 15 to 90 meters (about 50 to 300 feet), ASTER images Earth to map and monitor the changing surface of our planet. The broad spectral coverage and high spectral resolution of ASTER provides scientists in numerous disciplines with critical information for surface mapping and monitoring of dynamic conditions and temporal change. ASTER is one of five Earth-observing instruments launched Dec. 18, 1999, on Terra. The instrument was built by Japan's Ministry of Economy, Trade and Industry. A joint U.S./Japan science team is responsible for validation and calibration of the instrument and data products.
_
เขาไกรลาศ ทิเบต
ภาพถ่ายเขาไกรลาศจากเครื่องมือสำรวจโลก ASTER ในภาระกิจ Terra Mission เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ตั้งอยู่ที่ 31.1 องศาเหนือ 81.3 องศาตะวันออก ด้วยแถบสเปกตรัม 14 แถบจากช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดความร้อนที่มองเห็นได้ และความละเอียดเชิงพื้นที่สูงที่ 15 ถึง 90 เมตร ASTER ถ่ายภาพโลกเพื่อทำแผนที่และติดตามการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก การครอบคลุมสเปกตรัมที่กว้างและความละเอียดสเปกตรัมสูงของ ASTER ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ ได้รับข้อมูลที่สำคัญสำหรับการทำแผนที่พื้นผิวและการตรวจสอบสภาวะและการเปลี่ยนแปลงทางโลก ASTER เป็นหนึ่งในห้าเครื่องมือสำรวจโลกที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 เครื่องมือชิ้นนี้สร้างโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น คณะนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริการ่วมมือกับคณะนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือและข้อมูล
Credit : NASA/GSFC/METI/ERSDAC/JAROS, and U.S./Japan ASTER Science Team.
Source : www.jpl.nasa.gov
This image shows Mt. Kailash, a peak in the Kailas Range in Tibet, shot from ASTER, an Earth-observing instrument, Terra Mission on January 20, 2003, and is located at 31.1 degrees north, 81.3 degrees east. With its 14 spectral bands from the visible to the thermal infrared wavelength region and its high spatial resolution of 15 to 90 meters (about 50 to 300 feet), ASTER images Earth to map and monitor the changing surface of our planet. The broad spectral coverage and high spectral resolution of ASTER provides scientists in numerous disciplines with critical information for surface mapping and monitoring of dynamic conditions and temporal change. ASTER is one of five Earth-observing instruments launched Dec. 18, 1999, on Terra. The instrument was built by Japan's Ministry of Economy, Trade and Industry. A joint U.S./Japan science team is responsible for validation and calibration of the instrument and data products.
_
เขาไกรลาศ ทิเบต
ภาพถ่ายเขาไกรลาศจากเครื่องมือสำรวจโลก ASTER ในภาระกิจ Terra Mission เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ตั้งอยู่ที่ 31.1 องศาเหนือ 81.3 องศาตะวันออก ด้วยแถบสเปกตรัม 14 แถบจากช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดความร้อนที่มองเห็นได้ และความละเอียดเชิงพื้นที่สูงที่ 15 ถึง 90 เมตร ASTER ถ่ายภาพโลกเพื่อทำแผนที่และติดตามการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก การครอบคลุมสเปกตรัมที่กว้างและความละเอียดสเปกตรัมสูงของ ASTER ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ ได้รับข้อมูลที่สำคัญสำหรับการทำแผนที่พื้นผิวและการตรวจสอบสภาวะและการเปลี่ยนแปลงทางโลก ASTER เป็นหนึ่งในห้าเครื่องมือสำรวจโลกที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 เครื่องมือชิ้นนี้สร้างโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น คณะนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริการ่วมมือกับคณะนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือและข้อมูล
Credit : NASA/GSFC/METI/ERSDAC/JAROS, and U.S./Japan ASTER Science Team.
Source : www.jpl.nasa.gov
The Universe is Not Locally Real
เอกภพไม่มีอยู่จริง ณ ตำแหน่งแห่งที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ หัวข่าวการรายงานผลการทดลองหาความเป็นไปได้ของการวินิจฉัยและควบคุมอนุภาคที่อยู่ในสถานะพัวพัน (entangled state) ของคณะนักฟิสิกส์ Alain Aspect, John Clauser และ Anton Zeilinger ผู้ได้รับรางวัลโนเบล พ.ศ. 2565 โดยศึกษาถึงภาวะที่เกิดขึ้นกับอนุภาคหนึ่งในคู่ (หรือกลุ่ม) ที่พัวพันกัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเกิดอะไรขึ้นกับอีกอนุภาคหนึ่ง (หรืออนุภาคอื่นๆ ในกลุ่ม) ได้ แม้ว่าอนุภาคคู่ (หรือกลุ่ม) นี้จะอยู่ไกลเกินกว่าที่เราคาดถึง แต่กลุ่มอนุภาคดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ที่มา : Scientific American _ “แอปเปิลสีแดงย่อมแดงไม่ว่าจะมีใครมองหรือเปล่า” "พระจันทร์มันก็ต้องอยู่ตรงนั้นของมัน เกี่ยวอะไรกับการมองของเราด้วยล่ะ" ความจริงที่เรารู้มายาวนานคือ วัตถุและทุกสรรพสิ่งมีคุณลักษณะที่แน่นอนในตัวเอง #โดยไม่ขึ้นกับผู้สังเกต ทว่าการทดลองฟิสิกส์ควอนตัมร่วมครึ่งศตวรรษทำให้เราค้นพบ “ความจริงใหม่” ที่ป่วนจิตป่วนใจเป็นที่สุด นั่นคือความจริงที่ว่า “Universe is not locally real.” เอกภพไม่มีอยู่จริง ณ ตำแหน่งแห่งที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ ... อนุภาคในโลกระดับควอนตัมนั้น #สถานะจะปรากฎก็ต่อเมื่อถูกตรวจวัดเท่านั้น และอนุภาคสองตัวก็สามารถพันพัวถึงกันได้เสมอไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลแค่ไหนก็ตาม เป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า #QuantumEntanglement หรือ #การพัวพันเชิงควอนตัม ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่เข้าใจยากเป็นอย่างยิ่ง แต่คุ้มค่าที่จะเปิดใจ เพราะมันคือก้าวกระโดดที่บุกเบิกศาสตร์ข้อมูลระดับควอนตัม ซึ่งพามนุษย์เข้าสู่ยุคควอนตัมคอมพิวเตอร์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Sophia Publishing |
Installation detail. Photo : Nuttapon Sawasdee.
|
Numbered Discourses 3.80 : Lesser
Ananda, a galaxy extends a thousand times as far as the moon and sun revolve and the shining ones light up the quarters. In that galaxy there are a thousand moons, a thousand suns, a thousand Sinerus king of mountains, a thousand Indias, a thousand Western Continents, a thousand Northern Continents, a thousand Eastern Continents, four thousand oceans, four thousand Great Kings, a thousand realms of the Gods of the Four Great Kings, a thousand realms of the Gods of the Thirty-Three, of the Gods of Yama, of the Joyful Gods, of the Gods who Love to Create, of the Gods who Control the Creations of Others, and a thousand Brahmā realms. This is called a thousandfold lesser world system, a ‘galaxy’. A world system that extends for a thousand galaxies is called a millionfold middling world system, a ‘galactic cluster’. A world system that extends for a thousand galactic clusters is called a billionfold great world system, a ‘galactic supercluster’ Taken from Tipiṭaka, Numbered Discourses 3.80, 8. Ananda, Lesser, translated by Bhikkhu Sujato on SuttaCentral. (suttacentral.net) _ จูฬนิกาสูตร “อานนท์ สหัสสีโลกธาตุเท่าโอกาสที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรส่องทิศทั้งหลายให้สว่างรุ่งโรจน์ ในสหัสสีโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขาสิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป ๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นนิมมานรดี ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยโลกธาตุขนาดเล็กนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาดกลาง โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยสหัสสีโลกธาตุขนาดกลางนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่” คัดลอกจากพระไตรปิฎก [ฉบับมหาจุฬาฯ] เล่มที่ ๒๐-๗ หน้า ๒๗๕ - ๓๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร (พระสูตรที่ว่าด้วยอาณาเขตโลกธาตุขนาดเล็ก) |
The Castle Shape Chedi, a 5 tiered castle shape chedi at Wat Phrathat Hariphunchai in Lamphun (Chedi Chiang Yan or Chedi Mae Krua).
เจดีย์ทรงปราสาท : รูปแบบสถูปเจดีย์ที่มีเจดีย์จำลองเล็กๆ เรียกว่า “สถูปิกะ” ประดับส่วนฐานของเจดีย์ทรงระฆังเหนือเรือนธาตุทั้งสี่มุม เกิดเป็นเจดีย์ที่มีห้ายอด ตรงกับลักษณะของเขาไกรลาศตามคติจักรวาลวิทยาแบบตันตระ พระพุทธศาสนาสายวัชรยาน ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (เจดีย์เชียงยัน หรือเจดีย์แม่ครัว) จังหวัดลำพูน |
Lama Tagaya of Trikal Maitreya Buddha Vihara at Boudhanath, Nepal, holding "srog shing”, life tree or cosmo axis in Vajrayana Buddhist tradition.
_ ซกซิก หรือต้นไม้แห่งชีวิต แกนของพระพุทธรูปหรือสถูปในนิกายวัชรยาน ในมือของลามะตากยะพระสงฆ์ชาวทิเบตแห่ง Trikal Maitreya Buddha Vihara ที่สถูปพุทธนาถ ประเทศเนปาล ที่มา : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์. 2560. พระพุทธรูปล้านนา กับคติพระพุทธศาสนามหายานแบบตันตระนิกายวัชรยาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. |
Review / บทวิจารณ์
Cinematic Ensemble of Kailash : Reviewed by Wutigorn Kongka
นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 22 ประจำปี 2566 มีศิลปิน 7 คนที่ได้รับทุนนี้และกำลังแสดงผลงานอยู่ขณะนี้ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ใน 7 ศิลปินคนแรกที่ผมอยากพูดถึงคือ จิตติ เกษมกิจวัฒนา กับโครงการ ร้อยกรองไกร / Cinematic Ensemble of Kailash
โครงการนี้นำเอาเรื่องราวของ"เขาไกรลาศ"ซึ่งปรากฏชื่อชัดทางภูมิศาสตร์ในทิเบตหรืออีกนัยหนึ่งคือ"เขาพระสุเมรุ"ตามคติความเชื่อพุทธ,พราหมณ์ของการเป็นศูนย์กลางจักรวาลจนนำไปสู่เรื่องเล่าหรือตำนานต่างๆอีกมากมายในความหมายของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความหมายของเขาพระสุเมรุนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในรูปแบบของสถูปเจดีย์มาตั้งแต่โบราณกาลอีกด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง จิตติ ยังได้นำความคิดที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์มาสร้างความเชื่อมโยงกับตำนานดังกล่าว เพื่อแสดงถึงความพัวพัน ( entanglement ) อย่างที่ศิลปินกล่าวไว้ ระหว่างโลกทางจิตวิญญาณความเชื่อ กับโลกวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ เพื่อนำไปสู่การสร้างและจัดวางวัตถุต่างๆเพื่อให้เกิดการ"สัมพัทธ์"หรือ"สัมพันธ์"ในเชิงความหมาย ซึ่งมีทั้งการแสดงความนัยเชิงอุปมาเปรียบเปรย และแสดงคุณสมบัติของความเป็นวัตถุแท้ๆอย่างที่ "ธาตุ" หรือ "หน้าที่" ที่มันเป็นอยู่จริงๆ ผ่านสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะ
การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวัตถุทุกชนิดไปจนถึงจักรวาลอันยิ่งใหญ่ในทางวิทยาศาสตร์ ผ่านทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมคือการดำดิ่งสืบค้นลงไปสู่" ความเล็ก"ระดับ"อนุภาค"ที่มนุษย์เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ผลที่ปรากฏและพิสูจน์ได้ก็คือ คลื่นอนุภาคที่เล็กลงไปกว่าอะตอมนี้ ได้ส่งผลกระทบหรือจะเรียกว่า "พัวพัน" กันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเข็มสักเล่ม, ลูกแอปเปิล, ร่างกายของคนเราไปจนถึงดวงดาวในจักรวาล อนุภาคที่ทำปฏิกิริยากันเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะขอบเขตของรูปลักษณ์ของวัตถุอย่างที่ตาเราเห็น หรือสัมผัสปกติทางกายภาพการรับรู้ของมนุษย์ แต่มันมีอยู่จริง และสั่นสะเทือนสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของความสั่นสะเทือนนี้ต้องผ่านการตรวจวัดเท่านั้น และนั่น ทำให้เกิดความหมายของประโยคที่ว่า The Universe is not Locally Real หรือ เอกภพไม่มีอยู่จริง ณ ตำแหน่งแห่งที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะถ้าเราจะลองสมมุติว่า ตัวเราเล็กลงขนาดอนุภาค และแหวกว่ายปะปนไปกับคลื่นที่กระทบกันเหล่านี้ เราจะมองไม่เห็นเลย ว่าสิ่งใดคือ เข็ม,แอปเปิล,ตัวเรา และดวงดาว นั่นแปลว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นศูนย์กลางที่มองเห็นและจับต้องได้อีกแล้ว ทั้งตัวเรา, โลก, ดวงอาทิตย์, ระบบสุริยจักรวาล ไปจนถึงกาแลคซี่อื่นๆ เพราะเล็กลงไปของวัตถุเหล่านั้น มันคือการเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆของ"คลื่น"ที่ไม่หยุดนิ่งนั่นเอง
วัตถุแท้ๆ อย่างภาพถ่ายเขาไกรลาสจากวิกิพีเดียที่ตาเรามองเห็นเป็นปกติจึงถูกนำมาจัดวางตรงกันข้ามกับภาพถ่ายเขาไกรลาส จากเครื่องมือสำรวจโลก Aster ที่ตรวจจับธรณีฟิสิกส์ ในการสำรวจพื้นผิวทางกายภาพให้ปรากฏออกมาทางสายตา แต่เราจะไม่สามารถเห็นภูเขาแบบนี้ด้วยตาปกติ ต้องผ่านเครื่องมือนี้เท่านั้น เขาไกรลาศ ซึ่งแปลว่า "สีเงินยวง" ที่หมายถึงความศักดิ์สิทธิ์ อาจเชื่อมโยงไปถึง "หิมะ" บนยอดที่ปกคลุม หรืออาจหมายถึงการสะท้อนแสงของ "แร่ซิลิกา" ที่พบในหินและดินตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ถ้าความแวววาวของวัตถุในทางธรณีวิทยาจะแสดงพลังอำนาจบ่งบอกว่ามันคือเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางจักรวาลได้สำเร็จ สิ่งนี้จึงเป็นความเชื่อที่ทาบทับและสัมพัทธ์กันระหว่างอุดมคติกับความจริงของมนุษย์ที่มองได้ด้วยตาเปล่า
คั่นกลางระหว่างภาพถ่ายเขาไกรลาส 2 บริบท จะเห็นแท่นวางอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่แสดงความสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อสายตาและหู นี่คือการจำลองผลของการสร้างสถูปหรือเจดีย์ขนาดเล็กที่กำลังสร้างพลังงานที่จับต้องได้บางอย่าง อันแสดงความนัยถึง"ต้นไม้แห่งชีวิต"ซึ่งสัมพันธ์กับไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมที่วางอยู่ข้างกัน นี่คือแกนกลางของสถูปศักดิ์สิทธิ์ในรูปลักษณ์ใหม่ บนแท่นนั้นยังเห็นลูกแก้วใสที่คล้ายกาแลคซี่อัดแน่นเป็นผลึกสวยงามอยู่ในนั้น กับลายมือสวยงามบนกระดาษ
อีกฝั่งหนึ่งคือตัวหนังสือนีออนดัด กับประโยค The Universe is not Locally Real กับฝั่งตรงข้ามคือภาพปรินท์ดิจิทัลแสดงจุดเล็กๆที่เรียงกันเป็นระเบียบ ลูกแก้วบรรจุจักรวาลวางอยู่บนหนังสือ และในอีกห้อง คือลูกดิ่ง 5 ลูกทิ้งตัวอย่างสวยงามเพื่อแสดงถึงความสมดุลย์ของฐานเจดีย์ ลายมือสวยงามบนกระดาษเขียนไปตามรูปทรงของเขาไกรลาส เสาไม้แห่งชีวิตที่เป็นแกนกลางของสถูปถูกปักยื่นออกมาจากผนังเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นยอดแหลม
ทั้งหมดคือบทกวีอันละเมียดละไมในการค้นหาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทาง"ภาษา"ที่จะเป็นบันไดพาดผ่านพาผู้ชมไปสู่โลกขนาดเล็กที่บรรจุจักรวาลอันยิ่งใหญ่เอาไว้ เท่าที่สายตาของมนุษย์จะมองเห็นได้ อย่างไรก็ตามจักรวาลอันยิ่งใหญ่นี้ถูกมองผ่านความเชื่อทางศาสนาที่มีมานาน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ถูกวิจัยอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของเขาไกรลาส, เขาพระสุเมรุ, ลักษณะต่างๆ ของสถูปที่ปรากฎในหลายห้วงเวลา, หลายอาณาจักรและหลายภูมิประเทศ
การนำ "แว่นตา" แบบหนึ่งมาเพ่งมองเพื่อขยายประวัติศาสตร์ความเชื่อที่ซ้อนทับกับ"แว่นตา"อีกแบบหนึ่งในทางฟิสิกส์ในระดับเล็กจึงกลายเป็นการขยายอาณาเขตเพื่อสร้างพรมแดนใหม่ที่น่าทึ่ง มันเป็นการผสมผสานความเชื่อมโยงที่ปรากฏอยู่ในมโนคติที่กลายชัดมาสู่รูปธรรม โดยรูปธรรมชนิดนี้ย้อนกลับไปสู่ผู้ชมเพื่อมองโลกด้วย "แว่นตา" แบบใหม่ ว่าเราจะสำรวจโลกที่ "พัวพัน" กันจนไม่สามารถแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกจากกันได้อย่างไร บางที มนุษย์เราอาจมีความคิดเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ในการสร้างภาพแทนแห่งความเชื่อที่สูงส่งจนเราก็ตกอยู่ในความคิดที่ถูกสร้างต่อกันมานั้นอย่างยาวนาน ขณะเดียวกัน เราอาจไม่มีแม้แต่ตัวเราที่จะยืนอยู่ในตำแหน่งแห่งไหนของจักรวาลก็ได้ ความเร้นลับที่รอคอยไปสู่การสร้างหรือผสานพรมแดนใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก จึงปรากฏอยู่ในพรมแดนสมมุติของนิทรรศการนี้อย่างงดงามที่สุด
นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 22 ประจำปี 2566 มีศิลปิน 7 คนที่ได้รับทุนนี้และกำลังแสดงผลงานอยู่ขณะนี้ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ใน 7 ศิลปินคนแรกที่ผมอยากพูดถึงคือ จิตติ เกษมกิจวัฒนา กับโครงการ ร้อยกรองไกร / Cinematic Ensemble of Kailash
โครงการนี้นำเอาเรื่องราวของ"เขาไกรลาศ"ซึ่งปรากฏชื่อชัดทางภูมิศาสตร์ในทิเบตหรืออีกนัยหนึ่งคือ"เขาพระสุเมรุ"ตามคติความเชื่อพุทธ,พราหมณ์ของการเป็นศูนย์กลางจักรวาลจนนำไปสู่เรื่องเล่าหรือตำนานต่างๆอีกมากมายในความหมายของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความหมายของเขาพระสุเมรุนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในรูปแบบของสถูปเจดีย์มาตั้งแต่โบราณกาลอีกด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง จิตติ ยังได้นำความคิดที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์มาสร้างความเชื่อมโยงกับตำนานดังกล่าว เพื่อแสดงถึงความพัวพัน ( entanglement ) อย่างที่ศิลปินกล่าวไว้ ระหว่างโลกทางจิตวิญญาณความเชื่อ กับโลกวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ เพื่อนำไปสู่การสร้างและจัดวางวัตถุต่างๆเพื่อให้เกิดการ"สัมพัทธ์"หรือ"สัมพันธ์"ในเชิงความหมาย ซึ่งมีทั้งการแสดงความนัยเชิงอุปมาเปรียบเปรย และแสดงคุณสมบัติของความเป็นวัตถุแท้ๆอย่างที่ "ธาตุ" หรือ "หน้าที่" ที่มันเป็นอยู่จริงๆ ผ่านสุนทรียศาสตร์ทางศิลปะ
การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวัตถุทุกชนิดไปจนถึงจักรวาลอันยิ่งใหญ่ในทางวิทยาศาสตร์ ผ่านทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมคือการดำดิ่งสืบค้นลงไปสู่" ความเล็ก"ระดับ"อนุภาค"ที่มนุษย์เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ผลที่ปรากฏและพิสูจน์ได้ก็คือ คลื่นอนุภาคที่เล็กลงไปกว่าอะตอมนี้ ได้ส่งผลกระทบหรือจะเรียกว่า "พัวพัน" กันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเข็มสักเล่ม, ลูกแอปเปิล, ร่างกายของคนเราไปจนถึงดวงดาวในจักรวาล อนุภาคที่ทำปฏิกิริยากันเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะขอบเขตของรูปลักษณ์ของวัตถุอย่างที่ตาเราเห็น หรือสัมผัสปกติทางกายภาพการรับรู้ของมนุษย์ แต่มันมีอยู่จริง และสั่นสะเทือนสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของความสั่นสะเทือนนี้ต้องผ่านการตรวจวัดเท่านั้น และนั่น ทำให้เกิดความหมายของประโยคที่ว่า The Universe is not Locally Real หรือ เอกภพไม่มีอยู่จริง ณ ตำแหน่งแห่งที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะถ้าเราจะลองสมมุติว่า ตัวเราเล็กลงขนาดอนุภาค และแหวกว่ายปะปนไปกับคลื่นที่กระทบกันเหล่านี้ เราจะมองไม่เห็นเลย ว่าสิ่งใดคือ เข็ม,แอปเปิล,ตัวเรา และดวงดาว นั่นแปลว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นศูนย์กลางที่มองเห็นและจับต้องได้อีกแล้ว ทั้งตัวเรา, โลก, ดวงอาทิตย์, ระบบสุริยจักรวาล ไปจนถึงกาแลคซี่อื่นๆ เพราะเล็กลงไปของวัตถุเหล่านั้น มันคือการเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆของ"คลื่น"ที่ไม่หยุดนิ่งนั่นเอง
วัตถุแท้ๆ อย่างภาพถ่ายเขาไกรลาสจากวิกิพีเดียที่ตาเรามองเห็นเป็นปกติจึงถูกนำมาจัดวางตรงกันข้ามกับภาพถ่ายเขาไกรลาส จากเครื่องมือสำรวจโลก Aster ที่ตรวจจับธรณีฟิสิกส์ ในการสำรวจพื้นผิวทางกายภาพให้ปรากฏออกมาทางสายตา แต่เราจะไม่สามารถเห็นภูเขาแบบนี้ด้วยตาปกติ ต้องผ่านเครื่องมือนี้เท่านั้น เขาไกรลาศ ซึ่งแปลว่า "สีเงินยวง" ที่หมายถึงความศักดิ์สิทธิ์ อาจเชื่อมโยงไปถึง "หิมะ" บนยอดที่ปกคลุม หรืออาจหมายถึงการสะท้อนแสงของ "แร่ซิลิกา" ที่พบในหินและดินตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ถ้าความแวววาวของวัตถุในทางธรณีวิทยาจะแสดงพลังอำนาจบ่งบอกว่ามันคือเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางจักรวาลได้สำเร็จ สิ่งนี้จึงเป็นความเชื่อที่ทาบทับและสัมพัทธ์กันระหว่างอุดมคติกับความจริงของมนุษย์ที่มองได้ด้วยตาเปล่า
คั่นกลางระหว่างภาพถ่ายเขาไกรลาส 2 บริบท จะเห็นแท่นวางอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่แสดงความสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อสายตาและหู นี่คือการจำลองผลของการสร้างสถูปหรือเจดีย์ขนาดเล็กที่กำลังสร้างพลังงานที่จับต้องได้บางอย่าง อันแสดงความนัยถึง"ต้นไม้แห่งชีวิต"ซึ่งสัมพันธ์กับไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมที่วางอยู่ข้างกัน นี่คือแกนกลางของสถูปศักดิ์สิทธิ์ในรูปลักษณ์ใหม่ บนแท่นนั้นยังเห็นลูกแก้วใสที่คล้ายกาแลคซี่อัดแน่นเป็นผลึกสวยงามอยู่ในนั้น กับลายมือสวยงามบนกระดาษ
อีกฝั่งหนึ่งคือตัวหนังสือนีออนดัด กับประโยค The Universe is not Locally Real กับฝั่งตรงข้ามคือภาพปรินท์ดิจิทัลแสดงจุดเล็กๆที่เรียงกันเป็นระเบียบ ลูกแก้วบรรจุจักรวาลวางอยู่บนหนังสือ และในอีกห้อง คือลูกดิ่ง 5 ลูกทิ้งตัวอย่างสวยงามเพื่อแสดงถึงความสมดุลย์ของฐานเจดีย์ ลายมือสวยงามบนกระดาษเขียนไปตามรูปทรงของเขาไกรลาส เสาไม้แห่งชีวิตที่เป็นแกนกลางของสถูปถูกปักยื่นออกมาจากผนังเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นยอดแหลม
ทั้งหมดคือบทกวีอันละเมียดละไมในการค้นหาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทาง"ภาษา"ที่จะเป็นบันไดพาดผ่านพาผู้ชมไปสู่โลกขนาดเล็กที่บรรจุจักรวาลอันยิ่งใหญ่เอาไว้ เท่าที่สายตาของมนุษย์จะมองเห็นได้ อย่างไรก็ตามจักรวาลอันยิ่งใหญ่นี้ถูกมองผ่านความเชื่อทางศาสนาที่มีมานาน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ถูกวิจัยอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของเขาไกรลาส, เขาพระสุเมรุ, ลักษณะต่างๆ ของสถูปที่ปรากฎในหลายห้วงเวลา, หลายอาณาจักรและหลายภูมิประเทศ
การนำ "แว่นตา" แบบหนึ่งมาเพ่งมองเพื่อขยายประวัติศาสตร์ความเชื่อที่ซ้อนทับกับ"แว่นตา"อีกแบบหนึ่งในทางฟิสิกส์ในระดับเล็กจึงกลายเป็นการขยายอาณาเขตเพื่อสร้างพรมแดนใหม่ที่น่าทึ่ง มันเป็นการผสมผสานความเชื่อมโยงที่ปรากฏอยู่ในมโนคติที่กลายชัดมาสู่รูปธรรม โดยรูปธรรมชนิดนี้ย้อนกลับไปสู่ผู้ชมเพื่อมองโลกด้วย "แว่นตา" แบบใหม่ ว่าเราจะสำรวจโลกที่ "พัวพัน" กันจนไม่สามารถแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกจากกันได้อย่างไร บางที มนุษย์เราอาจมีความคิดเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง ในการสร้างภาพแทนแห่งความเชื่อที่สูงส่งจนเราก็ตกอยู่ในความคิดที่ถูกสร้างต่อกันมานั้นอย่างยาวนาน ขณะเดียวกัน เราอาจไม่มีแม้แต่ตัวเราที่จะยืนอยู่ในตำแหน่งแห่งไหนของจักรวาลก็ได้ ความเร้นลับที่รอคอยไปสู่การสร้างหรือผสานพรมแดนใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก จึงปรากฏอยู่ในพรมแดนสมมุติของนิทรรศการนี้อย่างงดงามที่สุด
Baannoorg Exhibition review: EP#1
SILPA BHIRASRI CREATIVITY GRANTS 22
ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 22
จัดแสดงที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ 15 กันยายน - 21 ตุลาคม 2023 เป็นโครงการที่สนับสนุนทุนสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ตามโครงการที่ศิลปินแต่ละท่านได้นำเสนอเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือก และโดยเฉพาะในการคัดสรรศิลปินในปีนี้คณะกรรมการได้มุ่งความสนใจต่อผลงานที่มีกระบวนการคิดและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางศิลปะ (process and research base art) เป็นสำคัญ
เป็นที่น่าสนใจว่าผลงานแต่ละชิ้นที่ศิลปินนำมาจัดแสดงนั้น เมื่อผ่านขั้นตอนและกระบวนการคิด-วิจัยเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้ผลงานแต่ละชิ้นได้ถูกพัฒนาไปมากและนั่นก็ทำให้ผู้ชมรวมถึงคณะกรรมเองถึงกับ WOW ไปกับผลงานที่นำมาจัดแสดงอีกด้วย
Baannoorg Exhibition review: EP#1 SILPA BHIRASRI CREATIVITY GRANTS 22 ขอหยิบยกผลงานของ จิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปิน 1 ใน7 ท่าน มาเล่าให้ฟังถึงบางส่วนเสี่ยวที่เราๆ ท่านๆ อาจมองข้ามสิ่งที่เป็นรายละเอียดซึ่งนำไปปะติดปะต่อ เพื่อทำความเข้าใจตัวชิ้นงาน และเกิดประโยชน์ต่องานวิจัยเชิงปฏิบัติการทางศิลปะของใครหลายคนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
สำหรับจิตติ เกษมกิจวัฒนา (Chitti Kasemkitvatana) หากใครได้ติดตามผลงานของเขาจะพบว่า ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานโดยวางรากฐานการสร้าง สรรค์อยู่บนพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data base) ที่เน้นวิธีวิทยา การศึกษาวิจัยเชิงลึก (Research methodology) โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลวิทยาพุทธศาสนา (Buddhist cosmology) และผสานเข้ากับทฤษฎีฟิสิกส์ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity theory) และควอนตัมฟิสิกส์ (Quantum physics) ซึ่งกลศาสตร์ควอนตัม ที่ว่านี้เหมาะสำหรับใช้ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก เช่น อะตอมในส่วนที่เป็นคลื่น และอนุภาคในอะตอม กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum mechanics) จึงเป็นทฤษฎีที่ก้าวข้ามแนวคิดเชิงกลศาสตร์แบบดั่งเดิม (Classical mechanics) ของนิวตัน ที่พยายามอธิบายเพียงการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ภายใต้อิทธิพลจากระบบของแรง
ในนิทรรศการครั้งนี้ศิลปินได้นำเสนอผลงานที่ชื่อ ร้อยกรองไกร (Cinematic Ensemble of Kailash) เพื่อเชื่อมโยงประเด็นที่มีความพัวพันกันระหว่างบริบททางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับกลศาสตร์ควอนตัม ผ่านธรณีฟิสิกส์ทางภูมิศาสตร์ของเขาไกรลาศ ในฐานะที่มันมีความคาบเกี่ยวกับภาคพื้นดินและความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับจักรวาล ในทางภาคพื้นนั้นมีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนของเขาไกรลาศไว้หลายแห่งด้วยกัน ตามความเชื่อที่แตกต่างกันไปปรากฏในแต่ละภูมิภาค บ้างก็อ้างว่าเขาไกรลาศนั้นอยู่ที่ทิเบต บ้างก็ว่าอยู่ในแคว้นหิมาจัลประเทศ
แต่ถึงอย่างไรก็ดีเขาไกรลาศนั้นยังหมายถึงแกนโลก หรือศูนย์กลางจักรวาลในคติพุทธ และพรามณ์อีกด้วย ซึ่งรู้จักกันในนามเขาพระสุเมรุ หรือ เขาสิเนรุ ความปรากฏในสุริยสูตร โดยพระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้ว่า เขาพระสุเมรุ หรือ เขาสิเนรุ มีความยาว 84,000 โยชน์ กว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์และสูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์
เมื่อพิจารณาจากผลงานจะสังเกตเห็นว่าการร้องกรองที่ศิลปินผูกโยงตัวบทต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น คือความพยายามสร้างวัชรธาตุมณฑลแม่แบบจักรวาล หรือโลกธาตุตามคติจักรวาลวิทยาที่มีมาแต่ครั้งก่อนสมัยพุทธกาล โดยนำเสนอความเป็นจริงเชิงรูปธรรมและนามธรรมซึ่งปรากฏในห้องจัดแสดง ให้มีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างบันทึก-ภาพถ่ายเขาไกรลาศและศิลาจารึก ซกซิก-ต้นไม้แห่งชีวิตหรือเจดียพฤกษ์ที่สร้างขึ้นจากไม้หอมกฤษณา (Agarwood) ลูกดิ่งที่ตรึงลงจากเพดาน ผลึกแก้วทรงกลมที่ว่างอยู่คู่กับตัวบทจากจูฬนิกาสูตร(ซึ่งอธิบายโลกธาตุขนาดเล็กที่เรียกว่าสหัสสีโลกธาตุ) ตัวบทที่เขียนขึ้นด้วยลายมือ และตัวบทที่ทำด้วยไฟนีออนดัดสว่างขาวบนพนังห้อง ระบุคำว่าThe Universe is Not Locally Real (เอกภพไม่มีอยู่จริง ณ ตำแหน่งแห่งที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ)
ผลงานสื่อผสมติดตั้งในพื้นที่(mix media installation) เหล่านั้นถูกขับเน้นด้วยผลงานประติมากรรมขนาดเล็กสองชิ้นที่ปรากฏเป็นกระแสไฟแผ่สยายเป็นประกาย และเสียงที่ดังเป็นจังหวะ ศิลปินใช้สถานะหนึ่งของสสารเพื่อสร้างให้เกิดพลาสมา (Plasma) ซึ่งมีประจุสุทธิเป็นศูนย์ โดยให้อนุภาคที่มีประจุบวกและลบในสัดส่วนเท่ากัน และให้พลังงานส่งผ่านไปยังอิเล็กตรอนอิสระเพื่อชนเข้ากับอะตอม ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ก๊าซแตกตัวและกลายเป็นพลาสมาในที่สุด
ผลงานประติมากรรมสองชิ้นนี้ถูกวางเคียงกันบนแท่นจัดแสดง ปรากฏแสงและเสียงในเวลาเดียวกันเสมือนภาพแทนของมณฑลและแกนจักรวาล ประติมากรรมขนาดเล็กนี้สร้างขึ้นจากวัสดุแผ่นอลูมิเนียมรูปทรงสี่เหลี่ยมวางลดหลั่นคล้ายระเบียงเป็นชั้น โดยมีแกนกลางตั้งตรงขึ้นสู่ปลายยอดเพื่อแสดงขุนเขาแกนจักรวาล หรือเขามันทะระ อันเป็นไม้กวนเกษียรสมุทรในคติฮินดูหรือแกนเขาพระสุเมรุในคติพุทธ และคำว่าวัสดุในที่นี้ยังมีนัยสำคัญอีกประการคือ มณฑลจักรวาลนั้นเอง เนื่องจากคำว่าวัสดุ มีความหมายว่า ที่พำนัก มาจากรากศัพท์ของคำว่า “วาส” ซึ่งหมายถึงภพที่เป็นขอบเขตของแผนผังสิ่งก่อสร้างอันกว้างใหญ่ไพศาลตามจักรวาลที่มีโครงสร้างไว้แล้ว และเปล่งแสงและเสียงออกมาชั่วนิรันดรในทุกทิศทาง
นอกจากนั้นแสงและเสียงที่เปล่งออกมาจากการแตกตัวของไอออน (ion) ยังสะท้อนภาพความเป็นจริงที่เชิงนามธรรม ซึ่งทำให้มันมีรูปลักษณ์ปรากฏขึ้นมา และด้วยเหตุที่ว่าศิลปินเลือกใช้แกนจักรวาลเป็นตัวดำเนินเรื่อง ทำให้ผู้ชมจินตนาการได้ถึงภาวะของความเป็นเอกภพ (universe) ซึ่งอธิบายแนว คิดจักรวาลวิทยาของปริภูมิเวลา(space-time) หรือการที่อวกาศกับเวลารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นนามธรรมที่อธิบายได้ด้วยสูตรคณิตศาสตร์ของมิติเชิงพื้นที่ 3 มิติ (ความยาว, ความกว้าง, ความสูง) และมิติชั่วขณะอีก 1 มิติ (เวลา) หรือระบบพิกัด 4 มิติ ที่เรียกว่า กาลอวกาศ
แนวคิดการรวมปริภูมิและเวลาเข้าด้วยกันนั้นถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 1908 โดยนักคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ ที่ชื่อ Hermann Minkowski และ Albert Einstein เคยนิยามไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity ) ในปี 1905 เพื่อแสดงความสัมพันธ์หนึ่งเดียวของวัตถุต่าง ๆ ในจักรวาลกับเวลา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ปรากฏในบทความของ Einstein หัวข้อเกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies) ได้กลายเป็นทฤษฎีที่หักล้างแนวคิดปริภูมิสัมบูรณ์ และเวลาสัมบูรณ์ของนิวตันไปอย่างสิ้นเชิง ตัวทฤษฎีได้ไขข้อสงสัยว่าทำไมเวลาของแต่ละเหตุการณ์จึงเดินไม่เท่ากัน โดยให้สมมติฐานสำคัญอยู่ที่ผู้สังเกตการณ์แต่ละคนจะวัดความเร็วแสงได้ไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง และไม่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสง ด้วยเหตุนี้การรับรู้เวลากับปริภูมิของผู้สังเกตจึงมีความต่างกัน
เวลาและอวกาศเป็นปริมาณสัมพัทธ์เปลี่ยนแปลงตามผู้สังเกตการณ์และมีความเชื่อมโยงกันแบบแยกจากกันโดยสมบูรณ์ไม่ได้เนื่องจากมันมีโครง สร้างแบบ 4 มิติ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษได้รับการพิสูจน์ยืนยันต่อมาในปี 1971 โดย Joseph Hafele และ Richard Keating ทำการทดลองด้วยการ
นำนาฬิกาอะตอมที่ละเอียดและแม่นยำสูงขึ้นเครื่องบิน ๆ รอบโลกสองเที่ยว พบว่านาฬิกาบนเครื่องบินเดินช้ากว่านาฬิกาที่อยู่บนพื้นโลกจริง นอกจากนั้นผลลัพธ์ของทฤษฎีได้นำมาซึ่งหลักการสมมูลของสสารและพลังงานซึ่งเป็นที่มาของสมการ E = mc2 อีกด้วย
นอกจากนั้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ยังถูกนำไปอ้างอิงถึงการเดินทางข้ามเวลา หรือทฤษฎีรูหนอน (wormhole) หรือ สะพานไอน์สไตน์-โรเซน (Einstein-Rosen bridge) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีสมมุติฐานจาก Topology ของปริภูมิเวลาหรือแบบข่ายโครงสร้างของกาลอวกาศ ที่จะเป็นพื้นฐานในการเป็น "ทางลัด" ตัดผ่านไปมาระหว่างปริภูมิเวลา หรือการเดินทางข้ามภพ-ข้ามมิติ ซึ่งเกิดขึ้นในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ฟิสิกส์
กลับมาที่ข้อสรุปซึ่งศิลปินให้ไว้น่าสนใจโดยเชื่อมโยงแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานของตนเกี่ยวเนื่องกับปริภูมิเวลา ซึ่งสอดคล้องกับโลกธาตุขนาดเล็กหรือสหัสสีโลกธาตุที่พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า โลกธาตุนี้มีขนาดเท่ากับ 1:1,000 โดยมีดวงจันทร์ 1 ดวงอาทิตย์ 1 โคจรส่องสว่างทั่วทิศเท่ากับ 1 จักรวาลและจักรวาลนั้นคูณด้วยพัน เท่ากัน 1,000 จักรวาล จัดเป็น 1 สหัสสีโลกธาตุ ในสหัสสีโลกธาตุนั้นประกอบด้วยดวงจันทร์ 1,000 ดวงอาทิตย์ 1,000 เขาพระสุเมรุ 1000 ชมพูทวีป 1,000 อปรโคยานทวีป 1,000 อุตตรกุรุทวีป 1,000 ปุพพวิเทหทวีป 1,000 มหาสมุทร 4,000 ท้าวมหาราช 4,000 สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา 1,000 ชั้นดาวดึงส์ 1,000 ชั้นยามา 1,000 ชั้นดุสิต 1,000 ชั้นนิมมานรดี 1,000 ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี 1,000 และพรหมโลก 1,000
ดังนั้นการรวมตัวกันของจักรวาลต่างๆ จำนวน 1,000 จักรวาล อย่างมีระบบจึงทำให้โลกธาตุขนาดเล็ก หรือสหัสสีโลกธาตุเกิดขึ้นซึ่งสามารถเทียบได้กับเอกภพ (Universe) ของเรา แต่เปรียบไม่ได้กับวิสัยเขต หรืออาณาบริเวณที่พระวิสัยสามารถของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายแผ่ไปถึงซึ่งมีขนาดกำหนดไม่ได้ (ความปรากฏในสังขารุปปัตติสูตร) แต่ในวิสัยแห่งสามัญชนนั้นเรารับรู้การเคลื่อนตัวของโลกธาตุได้ก็เพียง"การเคลื่อนของมโนคติ หรือการสำแดงของมโนภาพในภาวะต่าง ๆ" เท่านั้น
SILPA BHIRASRI CREATIVITY GRANTS 22
ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 22
จัดแสดงที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ 15 กันยายน - 21 ตุลาคม 2023 เป็นโครงการที่สนับสนุนทุนสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ตามโครงการที่ศิลปินแต่ละท่านได้นำเสนอเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือก และโดยเฉพาะในการคัดสรรศิลปินในปีนี้คณะกรรมการได้มุ่งความสนใจต่อผลงานที่มีกระบวนการคิดและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางศิลปะ (process and research base art) เป็นสำคัญ
เป็นที่น่าสนใจว่าผลงานแต่ละชิ้นที่ศิลปินนำมาจัดแสดงนั้น เมื่อผ่านขั้นตอนและกระบวนการคิด-วิจัยเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้ผลงานแต่ละชิ้นได้ถูกพัฒนาไปมากและนั่นก็ทำให้ผู้ชมรวมถึงคณะกรรมเองถึงกับ WOW ไปกับผลงานที่นำมาจัดแสดงอีกด้วย
Baannoorg Exhibition review: EP#1 SILPA BHIRASRI CREATIVITY GRANTS 22 ขอหยิบยกผลงานของ จิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปิน 1 ใน7 ท่าน มาเล่าให้ฟังถึงบางส่วนเสี่ยวที่เราๆ ท่านๆ อาจมองข้ามสิ่งที่เป็นรายละเอียดซึ่งนำไปปะติดปะต่อ เพื่อทำความเข้าใจตัวชิ้นงาน และเกิดประโยชน์ต่องานวิจัยเชิงปฏิบัติการทางศิลปะของใครหลายคนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
สำหรับจิตติ เกษมกิจวัฒนา (Chitti Kasemkitvatana) หากใครได้ติดตามผลงานของเขาจะพบว่า ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานโดยวางรากฐานการสร้าง สรรค์อยู่บนพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data base) ที่เน้นวิธีวิทยา การศึกษาวิจัยเชิงลึก (Research methodology) โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลวิทยาพุทธศาสนา (Buddhist cosmology) และผสานเข้ากับทฤษฎีฟิสิกส์ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity theory) และควอนตัมฟิสิกส์ (Quantum physics) ซึ่งกลศาสตร์ควอนตัม ที่ว่านี้เหมาะสำหรับใช้ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก เช่น อะตอมในส่วนที่เป็นคลื่น และอนุภาคในอะตอม กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum mechanics) จึงเป็นทฤษฎีที่ก้าวข้ามแนวคิดเชิงกลศาสตร์แบบดั่งเดิม (Classical mechanics) ของนิวตัน ที่พยายามอธิบายเพียงการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ภายใต้อิทธิพลจากระบบของแรง
ในนิทรรศการครั้งนี้ศิลปินได้นำเสนอผลงานที่ชื่อ ร้อยกรองไกร (Cinematic Ensemble of Kailash) เพื่อเชื่อมโยงประเด็นที่มีความพัวพันกันระหว่างบริบททางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับกลศาสตร์ควอนตัม ผ่านธรณีฟิสิกส์ทางภูมิศาสตร์ของเขาไกรลาศ ในฐานะที่มันมีความคาบเกี่ยวกับภาคพื้นดินและความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับจักรวาล ในทางภาคพื้นนั้นมีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนของเขาไกรลาศไว้หลายแห่งด้วยกัน ตามความเชื่อที่แตกต่างกันไปปรากฏในแต่ละภูมิภาค บ้างก็อ้างว่าเขาไกรลาศนั้นอยู่ที่ทิเบต บ้างก็ว่าอยู่ในแคว้นหิมาจัลประเทศ
แต่ถึงอย่างไรก็ดีเขาไกรลาศนั้นยังหมายถึงแกนโลก หรือศูนย์กลางจักรวาลในคติพุทธ และพรามณ์อีกด้วย ซึ่งรู้จักกันในนามเขาพระสุเมรุ หรือ เขาสิเนรุ ความปรากฏในสุริยสูตร โดยพระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้ว่า เขาพระสุเมรุ หรือ เขาสิเนรุ มีความยาว 84,000 โยชน์ กว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์และสูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์
เมื่อพิจารณาจากผลงานจะสังเกตเห็นว่าการร้องกรองที่ศิลปินผูกโยงตัวบทต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น คือความพยายามสร้างวัชรธาตุมณฑลแม่แบบจักรวาล หรือโลกธาตุตามคติจักรวาลวิทยาที่มีมาแต่ครั้งก่อนสมัยพุทธกาล โดยนำเสนอความเป็นจริงเชิงรูปธรรมและนามธรรมซึ่งปรากฏในห้องจัดแสดง ให้มีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างบันทึก-ภาพถ่ายเขาไกรลาศและศิลาจารึก ซกซิก-ต้นไม้แห่งชีวิตหรือเจดียพฤกษ์ที่สร้างขึ้นจากไม้หอมกฤษณา (Agarwood) ลูกดิ่งที่ตรึงลงจากเพดาน ผลึกแก้วทรงกลมที่ว่างอยู่คู่กับตัวบทจากจูฬนิกาสูตร(ซึ่งอธิบายโลกธาตุขนาดเล็กที่เรียกว่าสหัสสีโลกธาตุ) ตัวบทที่เขียนขึ้นด้วยลายมือ และตัวบทที่ทำด้วยไฟนีออนดัดสว่างขาวบนพนังห้อง ระบุคำว่าThe Universe is Not Locally Real (เอกภพไม่มีอยู่จริง ณ ตำแหน่งแห่งที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ)
ผลงานสื่อผสมติดตั้งในพื้นที่(mix media installation) เหล่านั้นถูกขับเน้นด้วยผลงานประติมากรรมขนาดเล็กสองชิ้นที่ปรากฏเป็นกระแสไฟแผ่สยายเป็นประกาย และเสียงที่ดังเป็นจังหวะ ศิลปินใช้สถานะหนึ่งของสสารเพื่อสร้างให้เกิดพลาสมา (Plasma) ซึ่งมีประจุสุทธิเป็นศูนย์ โดยให้อนุภาคที่มีประจุบวกและลบในสัดส่วนเท่ากัน และให้พลังงานส่งผ่านไปยังอิเล็กตรอนอิสระเพื่อชนเข้ากับอะตอม ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ก๊าซแตกตัวและกลายเป็นพลาสมาในที่สุด
ผลงานประติมากรรมสองชิ้นนี้ถูกวางเคียงกันบนแท่นจัดแสดง ปรากฏแสงและเสียงในเวลาเดียวกันเสมือนภาพแทนของมณฑลและแกนจักรวาล ประติมากรรมขนาดเล็กนี้สร้างขึ้นจากวัสดุแผ่นอลูมิเนียมรูปทรงสี่เหลี่ยมวางลดหลั่นคล้ายระเบียงเป็นชั้น โดยมีแกนกลางตั้งตรงขึ้นสู่ปลายยอดเพื่อแสดงขุนเขาแกนจักรวาล หรือเขามันทะระ อันเป็นไม้กวนเกษียรสมุทรในคติฮินดูหรือแกนเขาพระสุเมรุในคติพุทธ และคำว่าวัสดุในที่นี้ยังมีนัยสำคัญอีกประการคือ มณฑลจักรวาลนั้นเอง เนื่องจากคำว่าวัสดุ มีความหมายว่า ที่พำนัก มาจากรากศัพท์ของคำว่า “วาส” ซึ่งหมายถึงภพที่เป็นขอบเขตของแผนผังสิ่งก่อสร้างอันกว้างใหญ่ไพศาลตามจักรวาลที่มีโครงสร้างไว้แล้ว และเปล่งแสงและเสียงออกมาชั่วนิรันดรในทุกทิศทาง
นอกจากนั้นแสงและเสียงที่เปล่งออกมาจากการแตกตัวของไอออน (ion) ยังสะท้อนภาพความเป็นจริงที่เชิงนามธรรม ซึ่งทำให้มันมีรูปลักษณ์ปรากฏขึ้นมา และด้วยเหตุที่ว่าศิลปินเลือกใช้แกนจักรวาลเป็นตัวดำเนินเรื่อง ทำให้ผู้ชมจินตนาการได้ถึงภาวะของความเป็นเอกภพ (universe) ซึ่งอธิบายแนว คิดจักรวาลวิทยาของปริภูมิเวลา(space-time) หรือการที่อวกาศกับเวลารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นนามธรรมที่อธิบายได้ด้วยสูตรคณิตศาสตร์ของมิติเชิงพื้นที่ 3 มิติ (ความยาว, ความกว้าง, ความสูง) และมิติชั่วขณะอีก 1 มิติ (เวลา) หรือระบบพิกัด 4 มิติ ที่เรียกว่า กาลอวกาศ
แนวคิดการรวมปริภูมิและเวลาเข้าด้วยกันนั้นถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 1908 โดยนักคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ ที่ชื่อ Hermann Minkowski และ Albert Einstein เคยนิยามไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity ) ในปี 1905 เพื่อแสดงความสัมพันธ์หนึ่งเดียวของวัตถุต่าง ๆ ในจักรวาลกับเวลา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ปรากฏในบทความของ Einstein หัวข้อเกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies) ได้กลายเป็นทฤษฎีที่หักล้างแนวคิดปริภูมิสัมบูรณ์ และเวลาสัมบูรณ์ของนิวตันไปอย่างสิ้นเชิง ตัวทฤษฎีได้ไขข้อสงสัยว่าทำไมเวลาของแต่ละเหตุการณ์จึงเดินไม่เท่ากัน โดยให้สมมติฐานสำคัญอยู่ที่ผู้สังเกตการณ์แต่ละคนจะวัดความเร็วแสงได้ไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง และไม่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสง ด้วยเหตุนี้การรับรู้เวลากับปริภูมิของผู้สังเกตจึงมีความต่างกัน
เวลาและอวกาศเป็นปริมาณสัมพัทธ์เปลี่ยนแปลงตามผู้สังเกตการณ์และมีความเชื่อมโยงกันแบบแยกจากกันโดยสมบูรณ์ไม่ได้เนื่องจากมันมีโครง สร้างแบบ 4 มิติ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษได้รับการพิสูจน์ยืนยันต่อมาในปี 1971 โดย Joseph Hafele และ Richard Keating ทำการทดลองด้วยการ
นำนาฬิกาอะตอมที่ละเอียดและแม่นยำสูงขึ้นเครื่องบิน ๆ รอบโลกสองเที่ยว พบว่านาฬิกาบนเครื่องบินเดินช้ากว่านาฬิกาที่อยู่บนพื้นโลกจริง นอกจากนั้นผลลัพธ์ของทฤษฎีได้นำมาซึ่งหลักการสมมูลของสสารและพลังงานซึ่งเป็นที่มาของสมการ E = mc2 อีกด้วย
นอกจากนั้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ยังถูกนำไปอ้างอิงถึงการเดินทางข้ามเวลา หรือทฤษฎีรูหนอน (wormhole) หรือ สะพานไอน์สไตน์-โรเซน (Einstein-Rosen bridge) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีสมมุติฐานจาก Topology ของปริภูมิเวลาหรือแบบข่ายโครงสร้างของกาลอวกาศ ที่จะเป็นพื้นฐานในการเป็น "ทางลัด" ตัดผ่านไปมาระหว่างปริภูมิเวลา หรือการเดินทางข้ามภพ-ข้ามมิติ ซึ่งเกิดขึ้นในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ฟิสิกส์
กลับมาที่ข้อสรุปซึ่งศิลปินให้ไว้น่าสนใจโดยเชื่อมโยงแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานของตนเกี่ยวเนื่องกับปริภูมิเวลา ซึ่งสอดคล้องกับโลกธาตุขนาดเล็กหรือสหัสสีโลกธาตุที่พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า โลกธาตุนี้มีขนาดเท่ากับ 1:1,000 โดยมีดวงจันทร์ 1 ดวงอาทิตย์ 1 โคจรส่องสว่างทั่วทิศเท่ากับ 1 จักรวาลและจักรวาลนั้นคูณด้วยพัน เท่ากัน 1,000 จักรวาล จัดเป็น 1 สหัสสีโลกธาตุ ในสหัสสีโลกธาตุนั้นประกอบด้วยดวงจันทร์ 1,000 ดวงอาทิตย์ 1,000 เขาพระสุเมรุ 1000 ชมพูทวีป 1,000 อปรโคยานทวีป 1,000 อุตตรกุรุทวีป 1,000 ปุพพวิเทหทวีป 1,000 มหาสมุทร 4,000 ท้าวมหาราช 4,000 สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา 1,000 ชั้นดาวดึงส์ 1,000 ชั้นยามา 1,000 ชั้นดุสิต 1,000 ชั้นนิมมานรดี 1,000 ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี 1,000 และพรหมโลก 1,000
ดังนั้นการรวมตัวกันของจักรวาลต่างๆ จำนวน 1,000 จักรวาล อย่างมีระบบจึงทำให้โลกธาตุขนาดเล็ก หรือสหัสสีโลกธาตุเกิดขึ้นซึ่งสามารถเทียบได้กับเอกภพ (Universe) ของเรา แต่เปรียบไม่ได้กับวิสัยเขต หรืออาณาบริเวณที่พระวิสัยสามารถของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายแผ่ไปถึงซึ่งมีขนาดกำหนดไม่ได้ (ความปรากฏในสังขารุปปัตติสูตร) แต่ในวิสัยแห่งสามัญชนนั้นเรารับรู้การเคลื่อนตัวของโลกธาตุได้ก็เพียง"การเคลื่อนของมโนคติ หรือการสำแดงของมโนภาพในภาวะต่าง ๆ" เท่านั้น
Special Thanks
Pensupa Sukkata
Thakol Khaosa-ad
Setapa Prommolmard
Kritsada Duchsadeevanich
Staffs at the Art Centre, Silpakorn University
Silpa Bhirasri Creativity Grants
The Art Centre, Silpakorn University
ขอขอบคุณ
ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ
ถกล ขาวสอาด
ศีตภา พรหมมลมาศ
กฤษฎา ดุษฎีวนิช
เจ้าหน้าที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Pensupa Sukkata
Thakol Khaosa-ad
Setapa Prommolmard
Kritsada Duchsadeevanich
Staffs at the Art Centre, Silpakorn University
Silpa Bhirasri Creativity Grants
The Art Centre, Silpakorn University
ขอขอบคุณ
ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ
ถกล ขาวสอาด
ศีตภา พรหมมลมาศ
กฤษฎา ดุษฎีวนิช
เจ้าหน้าที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร